วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553


พระธาตุดอยเวาแม่สาย

วัด พระธาตุดอยเวา เป็นวัดอันเป็นที่ประดิษฐานพระธาตุดอยเวา พระธาตุที่เชื่อกันว่า มีความเก่าแก่เป็นรองพระธาตุดอยตุง พระธาตุดอยเวานั้น ตั้งอยู่บนยอดดอยเวา แต่พระอุโบสถและเขตสังฆาวาสจะอยู่ที่เชิงดอย ผู้ที่จะขึ้นไปนมัสการต้องเดินขึ้นบันไดไปนมัสการ ซึ่งข้างบนเป็นจุดชมทัศนียภาพสองฝั่งสาย สามารถเห็นทัศนียภาพได้รอบทิศ

ประวัติพระธาตุดอยเวา
พระ ธาตุดอยเวา สร้างในพ.ศ. 296 ในรัชสมัยพระองค์เวา รัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์สิงหนวัติ ผู้ครองนครโยนกนาคพันธุ์ โดยชื่อนั้นได้นำมาจากพระนามของพระองค์เวา ต่อมาพระธาตุเจดีย์ได้พังลงตามกาลเวลา นายบุญยืน ศรีสมุทร คฤหบดีอำเภอแม่สาย ได้ร่วมกับ พระภิกษุดวงแสง รัตนมณี พร้อมด้วย ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนผู้มีจิตศรัทธา และ กรมศิลปากร ร่วมกันจัดสร้างขึ้นขึ้นใหม่ ในการขุดแต่งครั้งนี้ พบผอบหินสีดำ ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ 5 พระองค์ จึงได้อัญเชิญขึ้นประดิษฐานในองค์พระธาตุดังเดิม มีการวางศิลาฤกษ์ในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2494 และสร้างเสร็จพร้อมฉลองสมโภชพระธาตุในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 โดยมีพุทธบริษัททั้งสองประเทศ ร่วมงานอย่างคับคั่ง


พระธาตุผางา

วัดพระธาตุผาเงา อำเภอเชียงแสน เป็นวัดเก่าแก่ที่สำคัญของจังหวัดเชียงราย ได้ชื่อมาจากพระธาตุผาเงาที่อยู่ในบริเวณวัดซึ่งตั้งอยู่บนยอดหินก้อนใหญ่ คำว่า "ผาเงา" ก็คือ เงาของก้อนผาหรือก้อนหินที่มีลักษณะเป็นรูปสูงใหญ่คล้ายรูปทรงพระเจดีย์และ ให้ร่วมเงาที่ดีมาก ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า "พระธาตุผาเงา" พระธาตุองค์นี้เชื่อกันว่าสร้างมาตั้งแต่ ระหว่าง ปี พ.ศ.๔๙๔ - ๕๑๒ โดย ขุนผาพัง เข้าผู้ครองนครโยนก องค์ที่ ๒๓ สิ่งสำคัญในวัดพระธาตุผาเงา นอกจากพระธาตุผาเงาแล้วยังมีสถานที่น่าสนใจอีกหลายแห่ง เช่น พระเจดีย์เจ็ดยอด พระเจดีย์จอมจัน พระวิหาร สถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหลวงพ่อผาเงา พระธาตุพุทธนิมิต และซุ้มประตูพระธาตุผาเงาที่มีลวดลายลักษณะสวยงามมาก เป็นสถานปฏิบัติธรรมบนเนื้อที่ประมาณ ๑๔๓ ไร่ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในปี พ.ศ.๑๐๐๕ วิหารใหม่สร้างขึ้นบริเวณที่ขุดพบพระประธาน (หลวงพ่อเงา) บนยอดเขาประดิษฐาน พระบรมธาตุนิมิตรเจดีย์ ซึ่งบริเวณนี้สามารถชมวิว ทิวทัศน์บริเวณเมืองเชียงแสน แม่น้ำโขง แม่น้ำคำ และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้









































นาง ปรัธยาภรณ์ สงค์รอด ประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงรายเปิดเผยว่า ในฤดูกาลท่องเที่ยวปีนี้ จังหวัดเชียงราย คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเป็นจำนวนมากกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากความสงบเรียบร้อยและบรรยากาศที่หนาวเย็นขึ้น และมีประชาชนจำนวนมากที่ต้องเดินทางไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาวและพม่า แต่ในการเดินทาง ซึ่งจำเป็นต้องมีบัตรผ่านแดน จึงมีข้อแนะนำดังนี้

กรณีการทำบัตรข้ามไปยังพม่า ที่ด่านท่าขี้เหล็ก อ.แม่สาย
- ทำบัตรผ่านแดนชั่วคราว ที่หอประชุมอ.แม่สาย เพียงแห่งเดียว โดยมีค่าใช้จ่าย คนละ 30 บาท10 บาท ต้องเตรียมเอกสาร คือ บัตรประชาชน หรือ พาสปอร์ต ในกรณีที่เป็นชาวต่างชาติและต้องชำระเงินผ่านแดนให้ปับประเทศพม่า

กรณีต้องการนำรถส่วนตัวข้ามไปด้วย จะต้องเตรียมเอกสารดังนี้
- สำเนาทะเบียนรถ - คู่มือรถตัวจริง แสดงให้ทางเจ้าหน้าที่ด่านตรวจสอบก่อนเข้า
- กรณีที่ไม่ใช่เจ้าของรถที่ต้องนำข้ามแดน ต้องมีหนังสือมอบอำนาจ แสดงให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบอย่างชัดเจน บัตรผ่านแดนจะมีอายุการใช้งาน 7 วัน

กรณีต้องการข้ามแดนไปยังประเทศลาว ที่อำเภอเชียงของ
- จำเป็นต้องเตรียม บัตรประชาชน และค่าธรรมเนียม คนละ 30 บาท ณ ที่ว่าการอำเภอเชียงของแห่งเดียว
- กรณีที่มีพาสปอร์ตอยู่แล้ว สามารถนำพาสปอร์ตยื่นที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองได้เลย โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายอีก
- กรณีต้องการนำรถส่วนตัวข้ามแดน ต้องมีพาสปอร์ตรถ และเอกสารการเป็นเจ้าของรถ ยื่นต่อด่านตรวจคนเข้าเมือง
- ชำระที่ค่าธรรมเนียมที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองประเทศลาว ในวันทำการ จันทร์ – ศุกร์ คนละ 50 บาท และในวันเสาร์ – อาทิตย์ คนละ 70 บาท
- ค่าโดยสารทางเรือ คนละ 30 บาท
- กรณีต้องการค้างคืน อยู่ได้ไม่เกิน 3วัน 2 คืน ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อน

แหล่งข่าว สวท.เชียงราย

* เชียงรายโฟกัส ดอทคอม/ www.chiangraifocus.com

1

พายุที่เกิดในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันตก มหาสมุทรแปซิฟิกใต้ และทะเลจีนใต้เรียกว่าข้อใด

.ไซโคลน (Cyclone) ข.ไต้ฝุ่น (Typhoon)
ค.เฮอร์ริเคน (Hurricane) ง.วิลลี-วิลลี (Willy-Willy)

2

ข้อ ใด เป็นลมพายุที่พัดแรงฝนตกหนักและมีฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่าเกิดขึ้นและบางครั้งอาจมีลูกเห็บเกิดขึ้นด้วย เราจะพบปรากฏการพายุฟ้าคะนองได้ทั่วไปในเขตภูมิอากาศร้อนชื้น
.ไซโคลน (Cyclone) ข.ไต้ฝุ่น (Typhoon)
ค.เฮอร์ริเคน (Hurricane) ง.พายุฟ้าคะนอง

3

พายุที่เกิดในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ทะเลแคริบเบียน อ่าวเม็กซิโก และทางด้านตะวันตกของเม็กซิโก เรียกว่าข้อใด
.ไซโคลน (Cyclone) ข.ไต้ฝุ่น (Typhoon)
ค.เฮอร์ริเคน (Hurricane) ง.วิลลี-วิลลี (Willy-Willy)

4

พายุที่เกิดแถบทวีปออสเตรเลียเรียกว่าข้อใด

.ไซโคลน (Cyclone) ข.ไต้ฝุ่น (Typhoon)
ค.เฮอร์ริเคน (Hurricane) ง.วิลลี-วิลลี (Willy-Willy)

5

พายุที่เกิดในอ่าวเบงกอลและมหาสมุทรอินเดียเรียกว่าข้อใด

.ไซโคลน (Cyclone) ข.ไต้ฝุ่น (Typhoon)
ค.เฮอร์ริเคน (Hurricane) ง.วิลลี-วิลลี (Willy-Willy)

8

อักษร H คือ ข้อใด
ก.ศูนย์กลางของบริเวณที่มีความกดอากาศสูง ข.ศูนย์กลางของบริเวณที่มีความกดอากาศเท่ากัน

ค.ศูนย์กลางของบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ ง.ทุกข้อ

9

อักษร L คือ ข้อใด

ก.ศูนย์กลางของบริเวณที่มีความกดอากาศสูง ข.ศูนย์กลางของบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ

ค.ศูนย์กลางของบริเวณที่มีความกดอากาศเท่ากัน ง.ทุกข้อ

10

อากาศ เมื่อได้รับความร้อนจะขยายตัว และหากบริเวณนั้นมีความกดอากาศต่ำอากาศจะลอยตัวสูงขึ้น บริเวณที่อากาศเย็นกว่ามีความกดอากาศสูงกว่าจะเคลื่อนเข้ามาแทนที่อากาศร้อน ทำให้เกิด ข้อใด
ก.
ลมทะเล
ข.พายุฤดูร้อน
ค.พายุโซนร้อน ง.ลม

การถ่ายโอนพลังงานความร้อน

การถ่ายโอนพลังงานความร้อน

การถ่ายโอนพลังงานความร้อน เป็นการถ่ายเทพลังงานความร้อนระหว่างที่สองแห่งที่มีอุณหภูมิแตกต่างกัน วิธีการถ่ายโอน พลังงานความร้อนแบ่งได้เป็น 3 วิธี ดังนี้
1. การถ่ายโอนความร้อนโดยการนำความร้อน เป็นการถ่ายโอนความร้อนโดยความร้อนจะเคลื่อนที่ไปตามเนื้อของวัตถุจาก ตำแหน่งที่มีอุณหภูมิสูงไปสู่ตำแหน่งที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า โดยที่วัตถุที่เป็นตัวกลางในการถ่ายโอนความร้อนไม่ได้เคลื่อนที่ เช่น การนำแผ่นอะลูมิเนียมมาเผาไฟ โมเลกุลของแผ่นอะลูมิเนียมที่อยู่ใกล้เปลวไฟจะร้อนก่อนโมเลกุลที่อยู่ไกลออก ไป เมื่อได้รับความร้อนจะสั่นมากขึ้นจึงชนกับโมเลกุลที่อยู่ติดกัน และทำให้โมเลกุลที่อยู่ติดกันสั่นต่อเนื่องกันไป ความร้อนจึงถูกถ่ายโอนไปโดยการสั่นของโมเลกุลของแผ่นอะลูมิเนียม
โลหะ ต่างๆ เช่น เงิน ทอง อะลูมิเนียม เหล็ก เป็นวัตถุที่นำความร้อนได้ดี จึงถูกนำมาทำภาชนะในการหุงต้มอาหาร วัตถุที่นำความร้อนไม่ดีจะถูกนำมาทำฉนวนกันความร้อน เช่น ไม้ พลาสติก แก้ว กระเบื้อง เป็นต้น
2. การถ่ายโอนความร้อนโดยการพาความร้อน เป็นการถ่ายโอนความร้อนโดยวัตถุที่เป็นตัวกลางในการพาความร้อนจะเคลื่อนที่ ไปพร้อมกับความร้อนที่พาไป ตัวกลางในการพาความร้อนจึงเป็นสารที่โมเลกุลเคลื่อนที่ได้ง่าย ได้แก่ ของเหลวและแก๊ส ลมบกลมทะเลเป็นการเคลื่อนที่ของอากาศที่พาความร้อนจากบริเวณหนึ่งไปยัง อีกบริเวณหนึ่ง การต้ม การนึ่ง และการทอดอาหารเป็นการทำให้อาหารสุกโดยการพาความร้อน
3. การถ่ายโอนความร้อนโดยการแผ่รังสีความร้อน เป็นการถ่ายโอนความร้อนโดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง เช่น การแผ่รังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์มายังโลก การแผ่รังสีความร้อนจากเตาไฟไปยังอาหารที่ปิ้งย่างบนเตาไฟ เป็นต้น

สมดุลความร้อน
สมดุลความร้อน หมาย ถึง ภาวะที่สารที่มีอุณหภูมิต่างกันสัมผัสกัน และถ่ายโอนความร้อนจนกระทั่งสารทั้งสองมีอุณหภูมิเท่ากัน (และหยุดการถ่ายโอนความร้อน) เช่น การผสมน้ำร้อนกับน้ำเย็นเข้าด้วยกัน น้ำร้อนจะถ่ายโอนพลังงานความร้อนให้กับน้ำเย็น และเมื่อน้ำที่ผสมมีอุณหภูมิเท่ากัน การถ่ายโอนความร้อนจึงหยุด

การดูดกลืนความร้อนของวัตถุ
วัตถุ ทุกชนิดสามารถดูดกลืนพลังงานรังสี การดูดกลืนพลังงานรังสีของวัตถุเรียกว่า "การดูดกลืนความร้อน" จากการค้นพบของนักวิทยาศาสตร์พบว่า วัตถุที่มีผิวนอกสีดำทึบหรือสีเข้ม จะดูดกลืนความร้อนได้ดี วัตถุที่มีผิวนอกสีขาวหรือสีอ่อนจะดูดกลืน ความร้อนได้ไม่ดี
ใน ทำนองตรงกันข้าม วัตถุที่มีความร้อนทุกชนิดสามารถคายความร้อนได้เช่นกัน โดยวัตถุที่มีผิวนอกสีดำจะคายความร้อนได้ดี และวัตถุที่มีผิวนอกขาวจะคายความร้อนได้ไม่ดี
ใน ชีวิตประจำวันใช้ประโยชน์จากสมบัติของการดูดกลืนความร้อนและการคายความร้อน ของวัตถุในการเลือกสีทาอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ เช่น ชุดนักดับเพลิงมีสีสว่างและแวววาวเพื่อไม่ให้รับพลังงานความร้อนมากเกินไป บ้านเรือนที่อยู่อาศัยในเขตร้อนนิยมทาด้วยสีขาว เป็นต้น

การขยายตัวของวัตถุ
วัตถุ บางชนิดจะขยายตัวเมื่อได้รับความร้อนและจะหดตัวเมื่อคายความร้อน การขยายตัวของวัตถุเป็นสมบัติเฉพาะตัวของวัตถุ อัตราส่วนระหว่างขนาดของวัตถุที่เปลี่ยนแปลงไปกับขนาดเดิมของวัตถุต่อ อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง เรียกว่า "สัมประสิทธิ์ของการขยายตัว" วัตถุใดที่มีสัมประสิทธิ์ของการขยายตัวมากจะขยายตัวได้มากกว่าวัตถุที่มี สัมประสิทธิ์การขยายตัวน้อย เช่น ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส และความดันบรรยากาศเดียวกัน สังกะสี ตะกั่ว อะลูมิเนียม จะขยายตัวได้มากไปน้อย ตามลำดับ
ความ รู้เรื่องการขยายตัวของวัตถุเมื่อได้รับความร้อนถูกนำไปใช้ประโยชน์ อย่างกว้างขวาง เช่น การเว้นรอยต่อของรางรถไฟ การเว้นช่องว่างของหัวสะพาน การประดิษฐ์เทอร์มอมิเตอร์ และการติดตั้งเทอร์มอสแตตไฟฟ้า เพื่อใช้ควบคุมระดับอุณหภูมิของเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น

ที่มาhttp://www.maceducation.com/e-knowledge/2412212100/18.htm

เมฆ

เมฆ
เมฆ คือน้ำในอากาศระดับสูงที่อยู่ในลักษณะหยดน้ำและผลึกน้ำแข็ง เกิดจากไอน้ำในอากาศกลั่นตัวเป็นละอองน้ำเล็กๆ เมื่ออุณหภูมิของอากาศต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง
ชนิดของเมฆ
เมื่อใช้ระดับความสูงเป็นเกณฑ์ในการแบ่งเมฆจะแบ่งเมฆออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
1. เมฆระดับต่ำ เกิดที่ความสูงต่ำกว่า 2 กิโลเมตร ได้แก่
1.1 เมฆสเตรตัส มีลักษณะเป็นชั้นหรือเป็นแผ่นทึบ กระจายอยู่ทั่วไป
1.2 เมฆสเตรโตคิวมูลัส มีลักษณะเป็นแผ่น เป็นลอนกระจายอยู่เป็นหย่อมๆ

2. เมฆระดับกลาง อยู่ที่ระดับความสูง 2-5 กิโลเมตร ได้แก่
2.1 เมฆอัลโตสเตรตัส เป็นเมฆแผ่นที่มีลักษณะเป็นเยื่อบางๆ ต่อเนื่องกัน มีสีเทาหรือสีน้ำเงินอ่อนแผ่กระจายครอบคลุมท้องฟ้าเป็นบริเวณกว้าง
2.2 เมฆอัลโตคิวมูลัส เป็นเมฆสีขาวหรือสีเทามีลักษณะเป็นคลื่นหรือเป็นลอน ประกอบด้วยเมฆก้อนขนาดเล็กๆ มากมาย เกิดหลังจากอากาศแปรปรวนผ่านพ้นไป
2.3 เมฆนิมโบสเตรตัส มีลักษณะเป็นแผ่นหรือเป็นชั้น มีสีเทาค่อนข้างต่ำ ถ้ามีเมฆชนิดนี้เกิดขึ้น มักจะมีฝนหรือหิมะตกแผ่เป็นบริเวณกว้าง แต่ตกไม่หนักมากนัก



3. เมฆระดับสูง อยู่ที่ระดับความสูงตั้งแต่ 5-10 กิโลเมตร ได้แก่
3.1 เมฆเซอรัส เป็นเมฆสีขาว เป็นปุยคล้ายใยไหม ค่อนข้างโปร่งแสง มีลักษณะเป็นเส้นๆ ต่อเนื่องกันคล้ายขนนก
3.2 เมฆเซอโรสเตรตัส เป็นเมฆแผ่นสีขาวโปร่งแสง เป็นฝ้าบางๆ ราบเรียบเสมอกัน ทำให้เกิดวงแสงหรือการทรงกลดขึ้นรอบดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์เสมอ
3.3 เมฆเซอโรคิวมูลัส เป็นเมฆสีขาวแผ่นบางๆ ไม่มีเงาปรากฏขึ้นในก้อนเมฆ บางส่วนของเมฆมีลักษณะคล้ายระลอกคลื่นเล็กๆ และเป็นเส้นผสมกัน

นอกจากนี้ยังมีเมฆที่ก่อตัวในแนวตั้ง จะเกิดขึ้นเมื่ออากาศเหนือพื้นดินได้รับความร้อนจากแสงอาทิตย์ อากาศร้อนจะลอยตัวสูงขึ้นและเกิดเป็นเมฆ เมฆชนิดนี้ ได้แก่ เมฆคิวมูลัสและเมฆคิวมูโลนิมบัส
1. เมฆคิวมูลัส เป็นเมฆที่ลอยตัวขึ้นช้าๆ พร้อมกับอากาศที่ลอยตัวสูงขึ้น ถ้าขนาดขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ในที่สุดจะกลายเป็นเมฆคิวมูโลนิมบัส ซึ่งจัดเป็นเมฆฝนชนิดหนึ่ง
2. เมฆคิวมูโลนิมบัส หรือเมฆฝนฟ้าคะนอง เป็นเมฆรูปทั่งขนาดใหญ่ ยอดเมฆมีลักษณะคล้ายขนนก พบได้บ่อยครั้งในฤดูร้อน และมักจะปรากฏพร้อมกับปรากฏการณ์ฟ้าแลบและฟ้าร้อง


ที่มาhttp://www.maceducation.com/e-knowledge/2412212100/20.htm

ฝน

ฝน
ฝน เป็นน้ำที่เกิดจากกระบวนการกลั่นตัวของไอน้ำในอากาศที่รวมกันเป็นเมฆกลาย เป็นหยดน้ำ เมื่อหยดน้ำมีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมากจนอากาศไม่สามารถอุ้มไว้ได้ จึงตกลงมายังพื้นโลกเป็นฝน

การวัดปริมาณน้ำฝน
ปริมาณ น้ำฝน หมายถึง ระดับความลึกของน้ำฝนในภาชนะที่รองรับน้ำฝน ทั้งนี้ภาชนะที่รองรับน้ำฝนจะต้องตั้งอยู่ในแนวระดับ และวัดในช่วงเวลาที่กำหนด หน่วยที่ใช้วัดปริมาณน้ำฝนนิยมใช้ในหน่วยของมิลลิเมตร
การวัดปริมาณน้ำฝน จะใช้เครื่องมือที่เรียกว่า "เครื่องวัดปริมาณน้ำฝน (rain gauge)" ซึ่งจะตั้งไว้กลางแจ้งเพื่อรับน้ำฝนที่ตกลงมา มีหลายแบบดังนี้
1. เครื่องมือวัดปริมาณน้ำฝนแบบธรรมดา เป็นภาชนะทรงกลมที่ภายในมีกรวยเพื่อรองรับน้ำฝนที่ตกลงมา น้ำฝนที่รวบรวมได้จะไหลลงไปรวมกันในภาชนะรองรับ จากนั้นจึงนำน้ำที่เก็บไว้ในเครื่องมาตวง ก็จะทราบปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาได้ แต่เครื่องวัดน้ำฝนแบบนี้อาจได้ค่าแสดงปริมาณน้ำฝนคลาดเคลื่อนไปจากความเป็น จริง เนื่องจากน้ำฝนที่ตกลงมาบางส่วนอาจระเหยไป และถ้ามีฝนตกลงมาน้อยกว่า 2.5 มิลลิเมตร จะวัดได้ยากมาก
2. เครื่องมือวัดปริมาณน้ำฝนแบบป้องกันการระเหยของน้ำฝน โดยใช้ภาชนะทรงกลมตั้งบนหลอดขนาดเล็กสำหรับเก็บน้ำฝน เครื่องมือวัดปริมาณน้ำฝนแบบนี้สามารถใช้วัดปริมาณน้ำฝนได้ดี แม้จะมีฝนตกลงมาเพียงเล็กน้อยก็ตาม
3. เครื่องมือวัดปริมาณน้ำฝนแบบไซฟ่อน (siphon rain gauge) เป็น เครื่องวัดปริมาณน้ำฝนแบบมาตรฐานที่ทำงานมีประสิทธิภาพดี ซึ่งกรมอุตุนิยมวิทยาได้นำมาใช้และเป็นเครื่องมือวัดปริมาณน้ำฝนแบบ อัตโนมัติที่สามารถวัดปริมาณน้ำฝนได้ตลอดเวลา

ฝน (rain) เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากการที่ละอองไอน้ำในอากาศหรือเมฆจับตัวหรือเกาะกัน จนมีขนาดใหญ่ขึ้นจนกระทั่งอากาศไม่สามารถรองรับไว้ได้อีกจึงตกลงมาเป็นหยด น้ำขนาดใหญ่บ้างเล็กบ้างลงมาตามแรงดึงดูดของโลก
ละอองน้ำฝนหรือฝนที่ตกลงมาเป็นละอองจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของหยดน้ำประมาณ 0.5 มิลลิเมตร
เม็ด ฝนที่ตกลงมาขณะฝนตกหนักจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของหยดน้ำประมาณ 2 มิลลิเมตร หรืออาจมีขนาดที่ใหญ่กว่านี้ การเกิดฝนมีปัจจัยต่างๆ ดังนี้
1. ปริมาณไอน้ำในอากาศ ที่มีจำนวนมากจะรวมตัวกันทำให้เกิดเป็นเมฆ จากนั้นก็จะพัฒนาไปเป็นหยดของไอน้ำที่มี น้ำหนักมากขึ้น และตกลงสู่พื้นผิวโลก ยิ่งมีไอน้ำมากปริมาณของ น้ำฝนก็จะยิ่งมาก การตกแต่ละครั้งก็ตกนาน และตกได้บ่อยครั้ง
2. อุณหภูมิของชั้นบรรยากาศ มี ส่วนในการรวมตัวกันของไอน้ำ และการกลั่นตัวเป็นหยดน้ำตกลงสู่ผิวโลก อุณหภูมิที่สูงจะทำให้น้ำอยู่ในสภาพไอน้ำมากขึ้น อุณหภูมิที่ลดต่ำลงจะทำให้ไอน้ำรวมตัวกันเป็นเมฆ และถ้าอุณหภูมิลดต่ำลงอีกไอน้ำจะรวมตัวเป็นหยดน้ำตกลงสู่ผิวโลก
3. ลมซึ่งเป็นทั้งลมปกติและลมพายุ ลมเป็นปัจจัยในการพัดพาละอองไอน้ำให้ไปรวมกันตามบริเวณต่างๆ เมื่ออุณหภูมิลดลงจะตกลงมาเป็นฝน
# ลมที่เกิดตามปกติของประเทศไทยที่ทำให้เกิดฤดูฝน คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ลมนี้จะพัดพาไอน้ำจากมหาสมุทรอินเดียเข้าสู่พื้นที่ของประเทศทำให้เกิดฝนตก เป็นช่วงฤดูกาล
#ลมที่เกิดเป็นกรณีพิเศษ คือ ลมพายุ (ลมพายุไต้ฝุ่น ลมพายุทอร์นาโด ลมพายุเฮอริเคน) ลมพายุจะเกิดขึ้นในมหาสมุทร มีกำลังแรงมาก จะพัดพาเอาไอน้ำจำนวนมหาศาลเข้าสู่พื้นดิน ไอน้ำจะรวมตัวกันตกลงมาเป็นฝนจำนวนมากเป็นระยะเวลายาวนาน
4. ภูเขาและป่าไม้ ภูเขา เป็นส่วนที่สูงขึ้นมาจากผิวโลกจึงเป็นเหมือนกำแพงที่กั้นปะทะให้ไอน้ำมารวม ตัวกันเป็นจำนวนมาก ในขณะที่ป่าไม้จะคายไอน้ำ ทำให้อุณหภูมิต่ำลงและทำให้ไอน้ำรวมตัวกันเป็นหยดน้ำตกลงสู่ผิวโลก ภูเขาและป่าไม้จึงเป็นบริเวณที่ฝนจะตกมากเป็นพิเศษเมื่อเปรียบเทียบกับ พื้นที่ที่ไม่มีภูเขาและป่าไม้
ที่มา http://www.maceducation.com/e-knowledge/2412212100/21.htm

ลมและพายุ

ลมและพายุ
สภาพ พื้นผิวโลกแต่ละแห่งแตกต่างกัน ทำให้ความสามารถในการดูดซับรังสีจากดวงอาทิตย์ของแต่ละพื้นที่ไม่เท่ากัน บริเวณป่าทึบจะดูดรังสีได้ดีที่สุด รองลงมาคือพื้นดินและพื้นน้ำ ตามลำดับ เป็นผลให้อากาศที่อยู่เหนือพื้นที่ดังกล่าวมีอุณหภูมิและความกดอากาศต่างกัน และส่งผลทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของอากาศ

การเกิดลมและพายุ
อากาศ เมื่อได้รับความร้อนจะขยายตัว และหากบริเวณนั้นมีความกดอากาศต่ำอากาศจะลอยตัวสูงขึ้น บริเวณที่อากาศเย็นกว่ามีความกดอากาศสูงกว่าจะเคลื่อนเข้ามาแทนที่อากาศร้อน ทำให้เกิด ลม ถ้าบริเวณทั้งสองแห่งมีความกดอากาศต่างกันมาก ลมจะพัดแรงจนบางครั้งเรียกว่า พายุ ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายแก่สิ่งต่างๆ ในบริเวณที่พายุพัดผ่าน

ชนิดของลมและพายุ
1. ลมประจำภูมิภาคต่างๆ ของโลก ลมประจำภูมิภาคต่างๆ เช่น ลมที่พัดในซีกโลกใต้ พัดจากทิศตะวันออกเฉียงใต้ไปยังตะวันตกเฉียงเหนือ เรียกว่า "ลมค้า"
2. ลมประจำฤดู เป็น ลมที่พัดเป็นประจำตามฤดูกาล ลมมรสุมเป็นส่วนหนึ่งของลมที่พัดตามฤดูกาล มีทิศแน่นอนและสม่ำเสมอ สาเหตุใหญ่เกิดจากความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของพื้นดินและพื้นน้ำ ในฤดูหนาวอุณหภูมิของพื้นดินเย็นกว่าอุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทร เป็นเหตุทำให้เกิดลมพัดในทิศทางตรงกันข้าม ประเทศไทยอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุม 2 ชนิด คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
2.1 ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ---เป็น ลมที่พัดปกคลุมประเทศไทยระหว่างกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม โดยมีแหล่งกำเนิดบริเวณความกดอากาศสูงในซีกโลกใต้ในแถบมหาสมุทรอินเดีย ลมมรสุมนี้จะนำมวลอากาศชื้นจากมหาสมุทรอินเดียมาสู่ประเทศไทย ทำให้มีเมฆมาก ฝนตกชุกทั่วไป
2.2 ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ---เป็น ลมที่พัดปกคลุมประเทศไทยระหว่างกลางเดือนตุลาคมจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ มีแหล่งกำเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูงในซีกโลกเหนือแถบประเทศมองโกเลียและ จีน จึงพัดเอามวลอากาศเย็นและแห้งเข้ามาปกคลุมประเทศไทย ทำให้ท้องฟ้าโปร่ง อากาศหนาวเย็นและแห้งแล้งทั่วไป โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้จะมีฝนตกชุก โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออก เนื่องจากมรสุมนี้นำความชุ่มชื้นจากอ่าวไทยเข้ามาปกคลุม
3. ลมประจำถิ่น เป็น ลมที่เกิดเฉพาะแห่ง ในฤดูร้อนกลางเดือนกุมภาพันธ์จนถึงกลางเดือนพฤษภาคม ซึ่งของประเทศไทยมีอากาศร้อนจัด เมื่อมีอากาศเย็นจากประเทศจีนพัดลงมาปะทะทำให้เกิดเป็นพายุ เรียกว่า พายุฤดูร้อน มีกำลังลมแรงจัดกว่าพายุดีเปรสชัน ทำความเสียหายแก่อาคารบ้านเรือนและต้นไม้หักโค่นได้
4. ลมประจำเวลา เป็น ลมที่เกิดในช่วงเวลาที่ต่างกัน เช่น ในเวลากลางคืนอากาศเหนือพื้นดินเย็นว่าอากาศเหนือพื้นน้ำ เนื่องจากพื้นดินคายความร้อนได้เร็วกว่า อากาศจึงเคลื่อนที่จากฝั่งออกสู่ทะเล เรียกว่า ลมบก ส่วนในเวลากลางวันอากาศเหนือพื้นดินร้อนกว่าอากาศเหนือพื้นน้ำ เนื่องจากพื้นดินดูดความร้อนมากกว่าพื้นน้ำ อากาศจึงเคลื่อนที่จากพื้นน้ำเข้าสู่ฝั่งเรียกว่า ลมทะเล
5. พายุหมุนเขตร้อน เกิดเหนือมหาสมุทรในเขตร้อนที่มีอุณหภูมิของน้ำสูงกว่า 26.5 องศาเซลล์เซียส ความกดอากาศโดยทั่วไปต่ำกว่า 1,000 มิลลิบาร์ เกิดพร้อมกับลมที่พัดรุนแรงมาก โดยพัดเวียนเป็นวงทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือ ส่วนทางซีกโลกใต้พัดเวียนเป็นวงตามเข็มนาฬิกาเข้าสู่ศูนย์กลางพายุ ตามข้อตกลงระหว่างประเทศได้กำหนดการเรียกชื่อพายุหมุนตามความรุนแรงดังนี้

ประเภทพายุหมุนเขตร้อน
ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง km/hr

พายุดีเปรสชัน

พายุโซนร้อน

พายุไต้ฝุ่น

ไม่เกิน 63

63-118

มากกว่า 118


พายุหมุนเขตร้อนมีชื่อเรียกต่างกันไปตามแหล่งกำเนิด เช่น

- พายุที่เกิดในอ่าวเบงกอลและมหาสมุทรอินเดียเรียกว่า "ไซโคลน (Cyclone)"
- พายุที่เกิดในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ทะเลแคริบเบียน อ่าวเม็กซิโก และทางด้านตะวันตกของเม็กซิโก เรียกว่า "เฮอร์ริเคน (Hurricane)"
- พายุที่เกิดในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันตก มหาสมุทรแปซิฟิกใต้ และทะเลจีนใต้เรียกว่า "ไต้ฝุ่น (Typhoon)"
- พายุที่เกิดแถบทวีปออสเตรเลียเรียกว่า "วิลลี-วิลลี (Willy-Willy)"
6. พายุฟ้าคะนอง เป็นลมพายุที่พัดแรงฝนตกหนักและมีฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่าเกิดขึ้นและบางครั้งอาจมีลูกเห็บเกิดขึ้นด้วย เราจะพบปรากฏการพายุฟ้าคะนองได้ทั่วไปในเขตภูมิอากาศร้อนชื้น
ที่มาhttp://www.maceducation.com/e-knowledge/2412212100/22.htm

บรรยากาศ

การพยากรณ์อากาศ
การ พยากรณ์อากาศ หมายถึง การคาดหมายสภาวะของลมฟ้าอากาศรวมทั้งปรากฏการณ์ธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นล่วง หน้า โดยใช้สภาวะอากาศปัจจุบันเป็นข้อมูลเริ่มต้น
หน่วยงานของประเทศไทย ที่ทำหน้าที่ในการตรวจสภาพอากาศและปรากฏการณ์ธรรมชาติ เพื่อการพยากรณ์อากาศและเตือนภัยที่เกิดจากธรรมชาติ คือ กรมอุตุนิยมวิทยา

ขั้นตอนการพยากรณ์อากาศ
1. ตรวจสภาพอากาศ โดยสถานีตรวจอากาศบนบกหรือทะเล จะตรวจวัดอุณหภูมิของอากาศ ความชื้น ความกดอากาศ ลม เมฆ หยาดน้ำฟ้า ทัศนวิสัย บอลลูนตรวจสภาพอากาศจะนำเครื่องมือที่จะทำการวัดอุณหภูมิ ความกดอากาศ และความชื้นไปสู่ชั้นโทรโพสเฟียร์และสตราโตสเฟียร์ ดาวเทียมตรวจสภาพอากาศจะอยู่ในชั้นเอกโซสเฟียร์ และสามารถถ่ายภาพพื้นผิวโลก เมฆ และพายุ ส่งข้อมูลมายังสถานีรวบรวมข้อมูลได้
2. สื่อสารข้อมูลที่ได้จากการตรวจสภาพอากาศจากสถานีต่างๆ ไปยังศูนย์พยากรณ์อากาศ
3. เขียนแผนที่อากาศ วิเคราะห์ข้อมูล และพยากรณ์อากาศ โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณ แล้วส่งข้อมูลการพยากรณ์อากาศไปยังหน่วยงานสื่อสารมวลชน

การอ่านแผนที่อากาศ
แผนที่อากาศ คือ แผนที่ที่แสดงองค์ประกอบทางอุตุนิยมวิทยา ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ข้อมูลต่างๆ ในแผนที่อากาศได้รับมาจากสถานีตรวจอากาศ แล้วนำข้อมูลมาเขียนเป็นตัวเลข รหัส และสัญลักษณ์ต่างๆ ทางอุตุนิยมวิทยา ข้อมูลที่อยู่ในแผนที่อากาศจะนำไปใช้ในการคาดหมายการเปลี่ยนแปลงลักษณะอากาศ ที่จะเกิดขึ้น
ตัวอย่างสัญลักษณ์ทางอุตุนิยมวิทยาบนแผนที่อากาศ
1. เส้นโค้งที่เชื่อมต่อระหว่างบริเวณที่มีความกดอากาศเท่ากัน เรียกว่า เส้นไอโซบาร์ (Isobar) ตัวเลขบนเส้นไอโซบาร์แสดงค่าความกดอากาศที่อ่านได้ซึ่งอาจอยู่ในหน่วย มิลลิบาร์ หรือนิ้วของปรอท
2. เส้นโค้งที่เชื่อมต่อระหว่างบริเวณที่มีอุณหภูมิของอากาศเท่ากัน เรียกว่า เส้นไอโซเทอร์ม (Isotherm) ค่าอุณหภูมิอาจบอกในหน่วยองศาเซลเซียส หรือองศาฟาเรนไฮต์ หรือทั้งสองหน่วย
3. อักษร H คือ ศูนย์กลางของบริเวณที่มีความกดอากาศสูง
4. อักษร L คือ ศูนย์กลางของบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ

ภาพตัวอย่างแผนที่อากาศ
ที่มา http://www.maceducation.com/e-knowledge/2412212100/23.htm

0 ความคิดเห็น


ชื่อพายุ (I) ความหมาย ประเทศที่มาDamrey ดอมเรย ช้าง กัมพูชาHaikui ไห่คุ้ย - สาธารณรัฐประชาชนจีนKirogi ไคโรจิ ห่านป่า (ฝูงนกที่อพยพมาเกาหลีในฤดูใบไม้ร่วง และอพยพจากไปทางตอนเหนือในต้นฤดูใบไม้ผลิซึ่งมีพฤติกรรมคล้ายกับพายุไต้ฝุ่น ) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีKai-tak ไคตั๊ก ชื่อสนามบินเก่าของฮ่องกง ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)Tembin เทมบิง ราศีตุล ตาชั่ง ญี่ปุ่นBolaven โบลาเวน ที่ราบสูง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวSanba SAN-BA ชื่อสถานที่ในมาเก๊า Place name in Macoa มาเก๊าJelawat เจอลาวัต ชื่อปลาน้ำจืด มาเลเซียEwiniar เอวิเนียร์ ชื่อเทพเจ้าแห่งพายุ [ภาษาพื้นเมืองของเกาะชุก (Chuuk)] ไมโครนีเซียMariksi MA-LIK-SI คำคุณศัพท์ในภาษาประจำชาติของฟิลิปปินส์(?)มีความหมายว่า"รวดเร็ว" Filipino adjective which means fast ฟิลิปปินส์Gaemi เกมี มด สาธารณรัฐเกาหลีPrapiroon พระพิรุณ ฃื่อเทพเจ้าแห่งฝน ไทยMaria มาเรีย ชื่อผู้หญิง [ภาษาพื้นเมืองของหมู่เกาะมาเรียนา (Mariana)ในมหาสมุทราแปซิฟิก] สหรัฐอเมริกาSon Tinh SON-TING เทพเจ้าแห่งขุนเขาตามตำนานเทพของเวียดนาม (God of Mountain in Vietnamese myth) เวียดนามBopha โบพา ชื่อดอกไม้ / ชื่อเด็กหญิง กัมพูชาWukong หวู่คง ชื่อวีรบุรุษในตำนานจีน สาธารณรัฐประชาชนจีนSonamu โซนามุ ต้นส้น สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีShanshan ซานซาน ชื่อหญิงสาว ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)Yagi ยางิ ราศีมังกร แพะ ญี่ปุ่นLeepi LEE-PI น้ำตกที่สวยที่สุดทางตอนใต้สุดของประเทศลาว(The most beautiful waterfall in the end of Southern of Lao) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวBebinca เบบินคา ชื่อขนมพุดดิงของมาเก๊า มาเก๊าRumbia รุมเบีย ต้นปาล์ม มาเลเซียSoulik ซูลิก ตำแหน่งหัวหน้าเผ่าโบราณของเกาะโปนเป (Pohnpei) ไมโครนีเซียCimaron ซิมารอน วัวป่าในฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์Jebi เชบี นกนางแอ่น สาธารณรัฐเกาหลีMangkhut มังคุด MUNG-KUUT ชื่อผลไม้ ไทยUtor อูตอร์ แนวพายุฝนฟ้าคะนอง [ภาษาพื้นเมืองหมู่ชาวเกาะมาร์แชลล์ (Marshall)ในมหาสมุทรแปซิฟิก] สหรัฐอเมริกาTrami จ่ามี ชื่อดอกไม้ เวียดนามKong-rey กองเรย ชื่อสาวงามในตำนานเขมร ชื่อภูเขา กัมพูชาYutu ยู่ทู่ กระต่ายในตำนานจีน สาธารณรัฐประชาชนจีนToraji โทราจิ ชื่อต้นไม้ มีดอกสวยงาม พบในหุบเขาของเกาหลี รากใช้ทำอาหารและยา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีMan-yi มานหยี่ ชื่อช่องแคบ ปัจจุบันเป็นอ่างเก็บน้ำ ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)Usagi อุซางิ กระต่าย ญี่ปุ่นPabuk ปาบึก (ปลาบึก) ชื่อปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวWutip หวู่ติ๊บ ผีเสื้อ มาเก๊าSepat เซอปัต ปลาน้ำจืดซึ่งมีครีบเล็ก ๆ สำหรับคลาน มาเลเซียFitow ฟิโทว์ ชื่อดอกไม้สวย มีกลิ่นหอม [ภาษาพื้นเมืองของเกาะยาป ( Yap) ] ไมโครนีเซียDanas ดานัส ประสบการณ์และความรู้สึก ฟิลิปปินส์Nari นารี ดอกไม้ สาธารณรัฐเกาหลีWipha วิภา ชื่อผู้หญิง ไทยFrancisco ฟรานซิสโก ชื่อผู้ชาย [ภาษาพื้นเมืองของหมู่เกาะมาเรียนา(Mariana)ในมหาสมุทรแปซิฟิก] สหรัฐอเมริกาLekima เลกีมา ชื่อผลไม้ เวียดนามKrosa กรอซา ปั้นจั่น กัมพูชาHaiyan ไห่เยี่ยน ชื่อนกทะเล สาธารณรัฐประชาชนจีนPodul โพดอล ต้นหลิว ต้นไม้ที่มักพบในตัวเมืองและชนบทของเกาหลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีLingling เหล่งเหลง ชื่อหญิงสาว ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)Kajiki คะจิกิ ชื่อปลาทะเลที่เกล็ดจะเปลี่ยนสีเมื่อพ้นน้ำ ญี่ปุ่นFaxai ฟ้าใส ชื่อผู้หญิง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวPEIPAH เพผ่า ชื่อปลาสวยงาม (แทน Vamei) มาเก๊า(Vamei) (ฮัวเหม่ย) นกชนิดหนึ่งมีเสียงร้องไพเราะ Tapah ตาปาห์ ชื่อปลาน้ำจืด มาเลเซียMitag มิแทก ชื่อผู้หญิง {ภาษาพื้นเมืองของเกาะในประเทศไมโครนีเชีย} ไมโครนีเซียHagibis ฮากิบิส รวดเร็ว ว่องไว ฟิลิปปินส์Neoguri โนกูรี สนุขพันธุ์ราคูน สาธารณรัฐเกาหลีRammasun รามสูร ชื่อยักษ์ในเทพนิยายไทย ไทยChataan ชาทาอาน ฝน [ภาษาพื้นเมืองของหมู่เกาะมาเรียนา(Mariana)ในมหาสมุทรแปซิฟิก] สหรัฐอเมริกาHalong หะลอง ชื่ออ่าวสวยงามในเวียดนาม เวียดนามNakri นากรี ชื่อดอกไม้ กัมพูชาFengshen ฟงเฉิน ชื่อเทพเจ้าแห่งลม สาธารณรัฐประชาชนจีนKalmaegi คัลเมจิ นกนางนวล ( สัญลักษณ์แห่งท้องทะเล ) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีFung-wong ฟองวอง ชื่อยอดเขา ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)Kammuri คัมมุริ มงกุฎ ญี่ปุ่นPhanfone พันฝน สัตว์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวVongfong หว่องฟง ชื่อแมลง มาเก๊าRusa รูซา กวาง มาเลเซียSinlaku ซินลากอ ชื่อเทพธิดาในนิยาย ไมโครนีเซียHagupit ฮากุปิต เฆี่ยนตี ฟิลิปปินส์Jangmi ชังมี กุหลาบ สาธารณรัฐเกาหลีMekkhala เมขลา ชื่อเทพธิดาในเทพนิยายไทย ไทยHigos ฮีโกส ชื่อพืชชนิดหนึ่ง [ภาษาพื้นเมืองหมู่เกาะมารีน่า(Mariana) ในมหาสมุทรแปซิฟิก] สหรัฐเมริกาBavi บาหวี่ ชื่อภูเขาในภาคเหนือของเวียดนาม เวียดนามMaysak ไม้สัก ชื่อต้นไม้ [ ภาษาพื้นเมืองชองหมู่เกาะมารีนา (Mariana) ในมหาสมุทรแปซิฟิก] กัมพูชาHaishen ไห่เฉิน ชื่อเทพเจ้าแห่งท้องทะเล สาธารณรัฐประชาชนจีนPongsona พงโซนา ชื่อดอกไม้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีYanyan ยันยัน ชื่อสาวน้อย ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)Kujira คุจิระ ปลาวาฬ ญี่ปุ่นChan-hom จันหอม (จันทน์หอม) ชื่อต้นไม้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวLinfa หลิ่นฟ้า ดอกบัว มาเก๊าNangka นังกา ชื่อผลไม้ มาเลเซียSoudelor เซาเดโลร์ ชื่อหัวหน้าเผ่าในเทพนิยายของชาวเกาะโปนเป( Pohnpei) ไมโครนีเซียImbudo อิมบุโด พายุงวงช้าง ฟิลิปปินส์Goni โคนี หงส์ซึ่งส่งเสียงร้อง สาธารณรัฐเกาหลีMorakot มรกต มรกต ไทยEtau เอตาว เมฆพายุ [ภาษาพื้นเมืองของเกาะปาเลา (Palau)] สหรัฐอเมริกาVamco หว่ามก๋อ ชื่อแม่น้ำในภาคใต้ของเวียดนาม เวียดนามKrovann กรอวาญ ชื่อต้นไม้ กัมพูชา(กระวาน) Dujuan ตู้เจี้ยน ชื่อไม้ดอก สาธารณรัฐประชาชนจีนMaemi เมมิ สัตว์ชนิดหนึ่งซึ่งมักส่งเสียงร้องในฤดูร้อน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีเมื่อเวลาเกิดพายุไต้ฝุ่นเข้าสู่ประเทศ เกาหลี Choi-wan ฉอยหวั่น เมฆซึ่งมีสีสันสวยงาม ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)Koppu คอบปุ ปล่องภูเขาไฟ, หลุม หรือแก้ว ญี่ปุ่นKitsana กิสนา (กฤษณา) ชื่อต้นไม้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวParma ป้าหม่า อาหารชนิดหนึ่งของมาเก๊า ประกอบด้วยเนื้อสะโพก ตับ และเห็ด มาเก๊าMelor เมอโลร์ ดอกมะลิ มาเลเซียNepartak เนพาร์ตัก นักรบผู้มีชื่อเสียง ไมโครนีเซียLupit ลูปีต ความโหดร้ายทารุณ ฟิลิปปินส์Sudal ซูแดล นาก สาธารณรัฐเกาหลีNida นิดา ชื่อผู้หญิง ไทยOmais โอไมส์ การเคลื่อนที่ไปรอบ ๆ [ภาษาพื้นเมืองของเกาะปาเลา (Palau)] สหรัฐอเมริกาConson โกนเซิน ชื่อโบราณสถาน เวียดนามChanthu จันทู ชื่อดอกไม้ กัมพูชาDianmu เตี้ยนหมู่ เจ้าแม่สายอสุนี สาธารณรัฐประชาชนจีนMindulle มินดอนเล ดอกไม้เล็ก ๆสีเหลืองบานในฤดูใบไม่ผลิ สื่อถึงจิตใจที่อ่อนโยนและบริสุทธิ์ของสาวเกาหลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีTingting เถ่งเถง ชื่อสาวน้อย ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)Kompasu คอมปาซุ วงเวียน ญี่ปุ่นNamtheun น้ำเทิน ชื่อแม่น้ำ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวMalou หม่าโหล หินโมรา มาเก๊าMeranti เมอรันตี ชื่อต้นไม้ มาเลเซียRananim รานานิม คำสวัสดี [ภาษาพื้นเมืองของเกาะชุก (Chuuk)] ไมโครนีเซียMalakas มาลากัส แข็งแกร่ง เต็มไปด้วยพลัง ฟิลิปปินส์Megi เมกี ปลา สาธารณรัฐเกาหลีChaba ชบา ดอกชบา (ดอกไม้เขตร้อนชนิดหนึ่ง) ไทยAere แอรี สหรัฐอเมริกาSongda ซงด่า ชื่อแม่น้ำในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนาม เวียดนามSarika สาลิกา ชื่อนกชนิดหนึ่ง ชอบร้องเพลง กัมพูชาHaima ไหหม่า ม้าน้ำ สาธารณรัฐประชาชนจีนMeari มิอะริ เสียงสะท้อน(หมายถึง ทันทีที่เกิดพายุไต้ฝุ่น คำประกาศแจ้งของคณะกรรมการไต้ฝุ่น สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีก็จะสะท้อนก้องไปสู่ประเทศสมาชิก) Ma-on หมาง้อน อานม้า ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)Tokage โทะคาเงะ สัตว์เลื้อยคลาน พวกจิ้งจก ตุ๊กแก ญี่ปุ่นNock-ten นกเตน (นกกระเต็น) ชื่อนก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวMuifa หมุ่ยฟ้า ดอกพลัมบาน มาเก๊าMerbok เมอร์บุก ชื่อนก มาเลเซียNamadol นันมาดอล โบราณสถานที่มีชื่อเสียงของโปนเป (Pohnpei) หรือ เวนิชแห่งแปซิฟิก ไมโครนีเซีย Talas ตาลัส แหลมคม ฟิลิปปินส์Noru โนรู กวาง สาธารณรัฐเกาหลีKulap กุหลาบ ชื่อดอกไม้ ไทยRoke โรคี ชื่อผู้ชาย [ในภาษาพื้นเมืองของหมู่เกาะมาเรียนา (Mariana)ในมหาสมุทรแปซิฟิก] สหรัฐอเมริกาSonca เซินกา ชื่อนกชนิดหนึ่ง ชอบร้องเพลง เวียดนามNesat เนสาด ชาวประมง กัมพูชาHaitang ไห่ถาง ชื่อผลไม้ของจีน สาธารณรัฐประชาชนจีนNalgae นาลแก ปีก (หมายถึงการโบยบิน เคลื่อนที่ เคลื่อนไหวอย่างมีอิสระ) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีBanyan บันยัน ชื่อต้นไม้ ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)Washi วาชิ ชื่อหมู่ดาว นกอินทรีย์ ญี่ปุ่นMatsa มัดสา (มัศยา,มัตสยา,มัสยา) ปลาตัวเมีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวSanvu ซันหวู่ หินปะการัง มาเก๊าMawar มาวาร์ กุหลาบ มาเลเซียGuchol กูโชล เครื่องเทศชนิดหนึ่ง ไมโครนีเซียTalim ตาลิม แหลมคม หรือ ด้านคมของใบมีด ฟิลิปปินส์Nabi นาบี ผีเสื้อ สาธารณรัฐเกาหลีKhanun ขนุน ชื่อผลไม้ ไทยVicente วีเซนเต เมฆ [ภาษาชามาร์โร Chamarro)] สหรัฐอเมริกาSaola ซาวลา สัตว์ชนิดหนึ่ง ค้นพบในเวียดนาม เวียดนามมีผลตั้งแต่ 1 มกราคม 2551 (จากการประชุมคณะกรรมการไต้ฝุ่นครั้งที่ 40 ณ ประเทศมาเก๊า ระหว่างวันที่ 21-26 พฤศจิกายน 2550 )ที่มา http://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=28
ชื่อพายุ (I) ความหมาย ประเทศที่มา
Damrey ดอมเรย ช้าง กัมพูชา
Haikui ไห่คุ้ย - สาธารณรัฐประชาชนจีน
Kirogi ไคโรจิ ห่านป่า (ฝูงนกที่อพยพมาเกาหลีในฤดูใบไม้ร่วง และอพยพจากไปทางตอนเหนือในต้นฤดูใบไม้ผลิซึ่งมีพฤติกรรมคล้ายกับพายุ ไต้ฝุ่น) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี
Kai-tak ไคตั๊ก ชื่อสนามบินเก่าของฮ่องกง ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)
Tembin เทมบิง ราศีตุล ตาชั่ง ญี่ปุ่น
Bolaven โบลาเวน ที่ราบสูง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Sanba SAN-BA ชื่อสถานที่ในมาเก๊า Place name in Macoa มาเก๊า
Jelawat เจอลาวัต ชื่อปลาน้ำจืด มาเลเซีย
Ewiniar เอวิเนียร์ ชื่อเทพเจ้าแห่งพายุ [ภาษาพื้นเมืองของเกาะชุก (Chuuk)] ไมโครนีเซีย
Mariksi MA-LIK-SI คำคุณศัพท์ในภาษาประจำชาติของฟิลิปปินส์(?)มีความหมายว่า"รวดเร็ว" Filipino adjective which means fast ฟิลิปปินส์
Gaemi เกมี มด สาธารณรัฐเกาหลี
Prapiroon พระพิรุณ ฃื่อเทพเจ้าแห่งฝน ไทย
Maria มาเรีย ชื่อผู้หญิง [ภาษาพื้นเมืองของหมู่เกาะมาเรียนา (Mariana)ในมหาสมุทราแปซิฟิก] สหรัฐอเมริกา
Son Tinh SON-TING เทพเจ้าแห่งขุนเขาตามตำนานเทพของเวียดนาม (God of Mountain in Vietnamese myth) เวียดนาม
Bopha โบพา ชื่อดอกไม้ / ชื่อเด็กหญิง กัมพูชา
Wukong หวู่คง ชื่อวีรบุรุษในตำนานจีน สาธารณรัฐประชาชนจีน
Sonamu โซนามุ ต้นส้น สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี
Shanshan ซานซาน ชื่อหญิงสาว ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)
Yagi ยางิ ราศีมังกร แพะ ญี่ปุ่น
Leepi LEE-PI น้ำตกที่สวยที่สุดทางตอนใต้สุดของประเทศลาว(The most beautiful waterfall in the end of Southern of Lao) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Bebinca เบบินคา ชื่อขนมพุดดิงของมาเก๊า มาเก๊า
Rumbia รุมเบีย ต้นปาล์ม มาเลเซีย
Soulik ซูลิก ตำแหน่งหัวหน้าเผ่าโบราณของเกาะโปนเป (Pohnpei) ไมโครนีเซีย
Cimaron ซิมารอน วัวป่าในฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
Jebi เชบี นกนางแอ่น สาธารณรัฐเกาหลี
Mangkhut มังคุด MUNG-KUUT ชื่อผลไม้ ไทย
Utor อูตอร์ แนวพายุฝนฟ้าคะนอง [ภาษาพื้นเมืองหมู่ชาวเกาะมาร์แชลล์ (Marshall)ในมหาสมุทรแปซิฟิก] สหรัฐอเมริกา
Trami จ่ามี ชื่อดอกไม้ เวียดนาม
Kong-rey กองเรย ชื่อสาวงามในตำนานเขมร ชื่อภูเขา กัมพูชา
Yutu ยู่ทู่ กระต่ายในตำนานจีน สาธารณรัฐประชาชนจีน
Toraji โทราจิ ชื่อต้นไม้ มีดอกสวยงาม พบในหุบเขาของเกาหลี รากใช้ทำอาหารและยา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี
Man-yi มานหยี่ ชื่อช่องแคบ ปัจจุบันเป็นอ่างเก็บน้ำ ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)
Usagi อุซางิ กระต่าย ญี่ปุ่น
Pabuk ปาบึก (ปลาบึก) ชื่อปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Wutip หวู่ติ๊บ ผีเสื้อ มาเก๊า
Sepat เซอปัต ปลาน้ำจืดซึ่งมีครีบเล็ก ๆ สำหรับคลาน มาเลเซีย
Fitow ฟิโทว์ ชื่อดอกไม้สวย มีกลิ่นหอม [ภาษาพื้นเมืองของเกาะยาป ( Yap) ] ไมโครนีเซีย
Danas ดานัส ประสบการณ์และความรู้สึก ฟิลิปปินส์
Nari นารี ดอกไม้ สาธารณรัฐเกาหลี
Wipha วิภา ชื่อผู้หญิง ไทย
Francisco ฟรานซิสโก ชื่อผู้ชาย [ภาษาพื้นเมืองของหมู่เกาะมาเรียนา(Mariana)ในมหาสมุทรแปซิฟิก] สหรัฐอเมริกา
Lekima เลกีมา ชื่อผลไม้ เวียดนาม
Krosa กรอซา ปั้นจั่น กัมพูชา
Haiyan ไห่เยี่ยน ชื่อนกทะเล สาธารณรัฐประชาชนจีน
Podul โพดอล ต้นหลิว ต้นไม้ที่มักพบในตัวเมืองและชนบทของเกาหลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี
Lingling เหล่งเหลง ชื่อหญิงสาว ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)
Kajiki คะจิกิ ชื่อปลาทะเลที่เกล็ดจะเปลี่ยนสีเมื่อพ้นน้ำ ญี่ปุ่น
Faxai ฟ้าใส ชื่อผู้หญิง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
PEIPAH เพผ่า ชื่อปลาสวยงาม (แทน Vamei) มาเก๊า
(Vamei) (ฮัวเหม่ย) นกชนิดหนึ่งมีเสียงร้องไพเราะ
Tapah ตาปาห์ ชื่อปลาน้ำจืด มาเลเซีย
Mitag มิแทก ชื่อผู้หญิง {ภาษาพื้นเมืองของเกาะในประเทศไมโครนีเชีย} ไมโครนีเซีย
Hagibis ฮากิบิส รวดเร็ว ว่องไว ฟิลิปปินส์
Neoguri โนกูรี สนุขพันธุ์ราคูน สาธารณรัฐเกาหลี
Rammasun รามสูร ชื่อยักษ์ในเทพนิยายไทย ไทย
Chataan ชาทาอาน ฝน [ภาษาพื้นเมืองของหมู่เกาะมาเรียนา(Mariana)ในมหาสมุทรแปซิฟิก] สหรัฐอเมริกา
Halong หะลอง ชื่ออ่าวสวยงามในเวียดนาม เวียดนาม
Nakri นากรี ชื่อดอกไม้ กัมพูชา
Fengshen ฟงเฉิน ชื่อเทพเจ้าแห่งลม สาธารณรัฐประชาชนจีน
Kalmaegi คัลเมจิ นกนางนวล ( สัญลักษณ์แห่งท้องทะเล ) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี
Fung-wong ฟองวอง ชื่อยอดเขา ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)
Kammuri คัมมุริ มงกุฎ ญี่ปุ่น
Phanfone พันฝน สัตว์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Vongfong หว่องฟง ชื่อแมลง มาเก๊า
Rusa รูซา กวาง มาเลเซีย
Sinlaku ซินลากอ ชื่อเทพธิดาในนิยาย ไมโครนีเซีย
Hagupit ฮากุปิต เฆี่ยนตี ฟิลิปปินส์
Jangmi ชังมี กุหลาบ สาธารณรัฐเกาหลี
Mekkhala เมขลา ชื่อเทพธิดาในเทพนิยายไทย ไทย
Higos ฮีโกส ชื่อพืชชนิดหนึ่ง [ภาษาพื้นเมืองหมู่เกาะมารีน่า(Mariana) ในมหาสมุทรแปซิฟิก] สหรัฐเมริกา
Bavi บาหวี่ ชื่อภูเขาในภาคเหนือของเวียดนาม เวียดนาม
Maysak ไม้สัก ชื่อต้นไม้ [ ภาษาพื้นเมืองชองหมู่เกาะมารีนา (Mariana) ในมหาสมุทรแปซิฟิก] กัมพูชา
Haishen ไห่เฉิน ชื่อเทพเจ้าแห่งท้องทะเล สาธารณรัฐประชาชนจีน
Pongsona พงโซนา ชื่อดอกไม้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี
Yanyan ยันยัน ชื่อสาวน้อย ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)
Kujira คุจิระ ปลาวาฬ ญี่ปุ่น
Chan-hom จันหอม (จันทน์หอม) ชื่อต้นไม้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Linfa หลิ่นฟ้า ดอกบัว มาเก๊า
Nangka นังกา ชื่อผลไม้ มาเลเซีย
Soudelor เซาเดโลร์ ชื่อหัวหน้าเผ่าในเทพนิยายของชาวเกาะโปนเป( Pohnpei) ไมโครนีเซีย
Imbudo อิมบุโด พายุงวงช้าง ฟิลิปปินส์
Goni โคนี หงส์ซึ่งส่งเสียงร้อง สาธารณรัฐเกาหลี
Morakot มรกต มรกต ไทย
Etau เอตาว เมฆพายุ [ภาษาพื้นเมืองของเกาะปาเลา (Palau)] สหรัฐอเมริกา
Vamco หว่ามก๋อ ชื่อแม่น้ำในภาคใต้ของเวียดนาม เวียดนาม
Krovann กรอวาญ ชื่อต้นไม้ กัมพูชา
(กระวาน)
Dujuan ตู้เจี้ยน ชื่อไม้ดอก สาธารณรัฐประชาชนจีน
Maemi เมมิ สัตว์ชนิดหนึ่งซึ่งมักส่งเสียงร้องในฤดูร้อน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี
เมื่อเวลาเกิดพายุไต้ฝุ่นเข้าสู่ประเทศเกาหลี
Choi-wan ฉอยหวั่น เมฆซึ่งมีสีสันสวยงาม ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)
Koppu คอบปุ ปล่องภูเขาไฟ, หลุม หรือแก้ว ญี่ปุ่น
Kitsana กิสนา (กฤษณา) ชื่อต้นไม้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Parma ป้าหม่า อาหารชนิดหนึ่งของมาเก๊า ประกอบด้วยเนื้อสะโพก ตับ และเห็ด มาเก๊า
Melor เมอโลร์ ดอกมะลิ มาเลเซีย
Nepartak เนพาร์ตัก นักรบผู้มีชื่อเสียง ไมโครนีเซีย
Lupit ลูปีต ความโหดร้ายทารุณ ฟิลิปปินส์
Sudal ซูแดล นาก สาธารณรัฐเกาหลี
Nida นิดา ชื่อผู้หญิง ไทย
Omais โอไมส์ การเคลื่อนที่ไปรอบ ๆ [ภาษาพื้นเมืองของเกาะปาเลา (Palau)] สหรัฐอเมริกา
Conson โกนเซิน ชื่อโบราณสถาน เวียดนาม
Chanthu จันทู ชื่อดอกไม้ กัมพูชา
Dianmu เตี้ยนหมู่ เจ้าแม่สายอสุนี สาธารณรัฐประชาชนจีน
Mindulle มินดอนเล ดอกไม้เล็ก ๆสีเหลืองบานในฤดูใบไม่ผลิ สื่อถึงจิตใจที่อ่อนโยนและบริสุทธิ์ของสาวเกาหลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี
Tingting เถ่งเถง ชื่อสาวน้อย ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)
Kompasu คอมปาซุ วงเวียน ญี่ปุ่น
Namtheun น้ำเทิน ชื่อแม่น้ำ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Malou หม่าโหล หินโมรา มาเก๊า
Meranti เมอรันตี ชื่อต้นไม้ มาเลเซีย
Rananim รานานิม คำสวัสดี [ภาษาพื้นเมืองของเกาะชุก (Chuuk)] ไมโครนีเซีย
Malakas มาลากัส แข็งแกร่ง เต็มไปด้วยพลัง ฟิลิปปินส์
Megi เมกี ปลา สาธารณรัฐเกาหลี
Chaba ชบา ดอกชบา (ดอกไม้เขตร้อนชนิดหนึ่ง) ไทย
Aere แอรี สหรัฐอเมริกา
Songda ซงด่า ชื่อแม่น้ำในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนาม เวียดนาม

Sarika สาลิกา ชื่อนกชนิดหนึ่ง ชอบร้องเพลง กัมพูชา
Haima ไหหม่า ม้าน้ำ สาธารณรัฐประชาชนจีน
Meari มิอะริ เสียงสะท้อน(หมายถึง ทันทีที่เกิดพายุไต้ฝุ่น คำประกาศแจ้งของคณะกรรมการไต้ฝุ่น สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี
ก็จะสะท้อนก้องไปสู่ประเทศสมาชิก)
Ma-on หมาง้อน อานม้า ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)
Tokage โทะคาเงะ สัตว์เลื้อยคลาน พวกจิ้งจก ตุ๊กแก ญี่ปุ่น
Nock-ten นกเตน (นกกระเต็น) ชื่อนก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Muifa หมุ่ยฟ้า ดอกพลัมบาน มาเก๊า
Merbok เมอร์บุก ชื่อนก มาเลเซีย
Namadol นันมาดอล โบราณสถานที่มีชื่อเสียงของโปนเป (Pohnpei) หรือ เวนิชแห่งแปซิฟิก ไมโครนีเซีย
Talas ตาลัส แหลมคม ฟิลิปปินส์
Noru โนรู กวาง สาธารณรัฐเกาหลี
Kulap กุหลาบ ชื่อดอกไม้ ไทย
Roke โรคี ชื่อผู้ชาย [ในภาษาพื้นเมืองของหมู่เกาะมาเรียนา (Mariana)ในมหาสมุทรแปซิฟิก] สหรัฐอเมริกา
Sonca เซินกา ชื่อนกชนิดหนึ่ง ชอบร้องเพลง เวียดนาม
Nesat เนสาด ชาวประมง กัมพูชา
Haitang ไห่ถาง ชื่อผลไม้ของจีน สาธารณรัฐประชาชนจีน
Nalgae นาลแก ปีก (หมายถึงการโบยบิน เคลื่อนที่ เคลื่อนไหวอย่างมีอิสระ) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี
Banyan บันยัน ชื่อต้นไม้ ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)
Washi วาชิ ชื่อหมู่ดาว นกอินทรีย์ ญี่ปุ่น
Matsa มัดสา (มัศยา,มัตสยา,มัสยา) ปลาตัวเมีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Sanvu ซันหวู่ หินปะการัง มาเก๊า
Mawar มาวาร์ กุหลาบ มาเลเซีย
Guchol กูโชล เครื่องเทศชนิดหนึ่ง ไมโครนีเซีย
Talim ตาลิม แหลมคม หรือ ด้านคมของใบมีด ฟิลิปปินส์
Nabi นาบี ผีเสื้อ สาธารณรัฐเกาหลี
Khanun ขนุน ชื่อผลไม้ ไทย
Vicente วีเซนเต เมฆ [ภาษาชามาร์โร Chamarro)] สหรัฐอเมริกา
Saola ซาวลา สัตว์ชนิดหนึ่ง ค้นพบในเวียดนาม เวียดนาม
มีผลตั้งแต่ 1 มกราคม 2551 (จากการประชุมคณะกรรมการไต้ฝุ่นครั้งที่ 40 ณ ประเทศมาเก๊า ระหว่างวันที่ 21-26 พฤศจิกายน 2550 )
ที่มา http://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=28
การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ คืออะไร ?
การเปลี่ยน แปลงภูมิอากาศ (climate change) คือ การเปลี่ยนแปลงลักษณะอากาศเฉลี่ย (average weather) ในพื้นที่หนึ่ง ลักษณะอากาศเฉลี่ย หมายความรวมถึง ลักษณะทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับอากาศ เช่น อุณหภูมิ ฝน ลม เป็นต้น (ดูความหมายของ climate และ weather คลิ๊กที่นี่)
ใน ความหมายตามกรอบของอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ FCCC (Framework Convention on Climate Change) การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อันเป็นผลทางตรง หรือทางอ้อมจากกิจกรรมของมนุษย์ ที่ทำให้องค์ประกอบของบรรยากาศเปลี่ยนแปลงไป นอกเหนือจากความผันแปรตามธรรมชาติ
แต่ความหมายที่ใช้ในคณะกรรมการระหว่าง รัฐบาล ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ IPCC (Intergovernmental Panel on Climate Change) การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไม่ว่าจะเนื่องมาจาก ความผันแปรตามธรรมชาติ หรือกิจกรรมของมนุษย์
มนุษย์มีส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศได้อย่างไร ?
กิจกรรม ของมนุษย์ที่มีผลทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง คือ กิจกรรมที่ทำให้ปริมาณก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases) ในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้น เป็นเหตุให้ภาวะเรือนกระจก (Greenhouse Effect) รุนแรงกว่าที่ควรจะเป็นตามธรรมชาติ และส่งผลให้อุณหภูมิพื้นผิวโลกสูงขึ้น ที่เรียกว่า ภาวะโลกร้อน (Global warming)
ก๊าซเรือนกระจก คืออะไร ?
ก๊าซ เรือนกระจก คือ ก๊าซที่เป็นองค์ประกอบของบรรยากาศ และมีคุณสมบัติยอมให้รังสีคลื่นสั้นจากดวงอาทิตย์ผ่านทะลุมายังพื้นผิวโลก ได้ แต่จะดูดกลืนรังสีคลื่นยาวช่วงอินฟราเรดที่แผ่ออกจากพื้นผิวโลกเอาไว้ ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ และเป็นผลมาจากกิจกรรมของมนุษย์ ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเธน ไนตรัสออกไซด์ ฯลฯ
ภาวะเรือนกระจก คืออะไร ?
ภาวะ เรือนกระจก คือ ภาวะที่ชั้นบรรยากาศของโลกกระทำตัวเสมือนกระจก ที่ยอมให้รังสีคลื่นสั้นจากดวงอาทิตย์ผ่านลงมายังพื้นผิวโลกได้ แต่จะดูดกลืนรังสีคลื่นยาวช่วงอินฟราเรดที่แผ่ออกจากพื้นผิวโลกเอาไว้ จากนั้นก็จะคายพลังงานความร้อนให้กระจายอยู่ภายใน บรรยากาศจึงเปรียบเสมือนกระจกที่ปกคลุมผิวโลกให้มีภาวะสมดุลทางอุณหภูมิ และเหมาะสมต่อสิ่งมีชีวิตบนผิวโลก (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.tmd.go.th/knowledge/know_greenhouse01.html)

ภาวะโลกร้อน คืออะไร ?
ภาวะ โลกร้อน หมายถึง ภาวะที่อุณหภูมิโดยเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ภาวะโลกร้อนอาจจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของปริมาณฝน ระดับน้ำทะเล และมีผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อพืช สัตว์ และมนุษย์
โลกกำลังร้อนขึ้นจริงหรือ ?
ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1861 (พ.ศ. 2404) อุณหภูมิผิวพื้นเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น และสูงขึ้นประมาณ 0.6 องศาเซลเซียส ในศตวรรษที่ 20 (จากรายงานการประเมินครั้งที่ 3 หรือ Third Assessment Report - TAR ของคณะทำงานกลุ่ม 1 IPCC) จากการวิเคราะห์ข้อมูลในซีกโลกเหนือ ย้อนหลังไป 1,000 ปี พบว่า อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นมากในศตวรรษที่ 20 โดยสูงขึ้นมากที่สุดในทศวรรษที่ 1990 และ ค.ศ. 1998 (พ.ศ. 2541) เป็นปีที่ร้อนมากที่สุดในรอบ 1,000 ปี

ปริมาณฝนและระดับน้ำทะเลเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ?
ใน ศตวรรษที่ 20 ปริมาณน้ำฟ้า (น้ำฟ้า หมายถึง น้ำที่ตกลงมาจากฟ้าไม่ว่าจะอยู่ในภาวะของเหลวหรือของแข็ง เช่น ฝน หิมะ ลูกเห็บ) บริเวณพื้นแผ่นดินส่วนใหญ่ของซีกโลกเหนือในเขตละติจูดกลางและละติจูดสูง สูงขึ้นโดยเฉลี่ย 5 - 10 % แต่ลดลงประมาณ 3 % ในบริเวณกึ่งเขตร้อน

ส่วน ระดับน้ำทะเล จากข้อมูลทางธรณีวิทยา ปรากฏว่าเมื่อ 6,000 ปีที่ผ่านมาระดับน้ำทะเลของโลกสูงขึ้นในอัตราเฉลี่ยประมาณ 0.5 มม./ปี และในระยะ 3,000 ปีที่ผ่านมา สูงขึ้นเฉลี่ย 0.1 - 0.2 มม./ปี (IPCC, 2001) แต่จากข้อมูลตรวจวัดในศตวรรษที่ 20 ระดับน้ำทะเลของโลกสูงขึ้นในอัตราเฉลี่ย 1 - 2 มม./ปี

ประชาคมโลกตอบสนองต่อปัญหานี้อย่างไร ?
ใน การประชุมภูมิอากาศโลกครั้งแรก (The First World Climate Conference) ซึ่งจัดขึ้นที่เจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 12 - 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 นักวิทยาศาสตร์ได้ตระหนักถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก การประชุมครั้งนี้เน้นถึงเรื่องผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีต่อ มนุษย์เป็นส่วนใหญ่ และเรียกร้องให้รัฐบาลของแต่ละประเทศให้ความสำคัญกับภูมิอากาศที่กำลัง เปลี่ยนแปลงและป้องกันการกระทำของมนุษย์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิ อากาศ ซึ่งจะกลับมามีผลกระทบต่อมนุษย์เอง นอกจากนี้ยังได้วางแผนจัดตั้ง "แผนงานภูมิอากาศโลก" (World Climate Programme หรือ WCP) ภายใต้ความรับผิดชอบขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization หรือ WMO), โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme หรือ UNEP) และ International Council of Science Unions หรือ ICSU
หลังจาก พ.ศ. 2522 เป็นต้นมาได้มีการประชุมระหว่างประเทศเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอีก หลายครั้ง ที่สำคัญ ๆ ได้แก่ The Villach Conference ประเทศออสเตรีย (9 - 15 ตุลาคม 2528), The Toronto Conference ประเทศแคนาดา (27 - 30 มิถุนายน พ.ศ.), The Ottawa Conference ประเทศแคนาดา (20 - 22 กุมภาพันธ์ 2532), The Tata Conference นิวเดลฮี ประเทศอินเดีย (21 - 23 กุมภาพันธ์ 2532), The Hague Conference and Declaration ประเทศเนเธอร์แลนด์ (11 มีนาคม 2532), The Noordwijk Ministerial Conference ประเทศเนเธอร์แลนด์ (6 - 7 พฤศจิกายน 2532), The Cairo Compact ประเทศอียิปต์ (ธันวาคม 2532) และ The Bergen Conference ประเทศนอรเวย์ (พฤษภาคม 2533) การประชุมเหล่านี้ช่วยให้ประเทศต่าง ๆ ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศมากขึ้น ผู้เข้าร่วมประชุม รวมทั้งผู้กำหนดนโยบายในหน่วยงานรัฐบาล นักวิทยาศาสตร์และนักสิ่งแวดล้อม ได้พิจารณาประเด็นทั้งด้านวิทยาศาสตร์และนโยบาย และเรียกร้องให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกร่วมมือดำเนินการเกี่ยวกับปัญหานี้
ปี พ.ศ. 2531 องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก และโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ได้จัดตั้ง คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change หรือ IPCC) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินข้อมูลข่าวสารด้านวิทยาศาสตร์ และเศรษฐกิจ-สังคมที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่ความรู้ความเข้าใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ตลอดจนผลกระทบ การปรับตัว และการบรรเทาปัญหาอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
พ.ศ. 2533 IPCC ได้เสนอรายงานการประเมินครั้งที่ 1 (The First Assessment Report) ซึ่งเน้นย้ำปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ รายงานนี้มีผลอย่างมากต่อสาธารณชนและผู้กำหนดนโยบาย และเป็นพื้นฐานในการเจรจาอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
ใน เดือนธันวาคม 2533 ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติมีมติให้เริ่มดำเนินการเจรจาข้อตกลง โดยตั้งคณะกรรมการเจรจาระหว่างรัฐบาลเพื่อจัดทำร่างอนุสัญญาว่าด้วยการ เปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Intergovernmatal Nogotiating Committee for a Framework Convention on Climate Change หรือ INC/FCCC) ซึ่งได้มีการประชุมทั้งหมด 5 ครั้ง ตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2534 - พฤษภาคม 2535 และเนื่องจากเส้นตายที่จะมีการประชุมสุดยอดของโลก (Earth Summit) หรือการประชุมแห่งสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (United Nations Conference on Environment and Development หรือ UNCED) ในเดือนมิถุนายน 2535 ผู้เจรจาจาก 150 ประเทศจึงจัดทำร่างอนุสัญญาฯ เสร็จสิ้น และยอมรับที่นิวยอร์ค เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2535
ในการประชุม สุดยอดของโลก เมื่อเดือนมิถุนายน 2535 ที่กรุงริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล ตัวแทนรัฐบาล 154 รัฐบาล (รวมสหภาพยุโรป) ได้ลงนามในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change หรือ UNFCCC) โดยเป้าหมายสูงสุดของ UNFCCC คือ การรักษาระดับปริมาณก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศให้คงที่อยู่ในระดับที่ไม่มีผล กระทบต่อระบบภูมิอากาศ
วันที่ 21 มีนาคม 2537 เป็นวันที่อนุสัญญาฯ มีผลบังคับใช้ เนื่องจากอนุสัญญาฯ ระบุว่าให้มีผลบังคับใช้ภายใน 90 วัน หลังจากประเทศที่ 50 ให้สัตยาบัน
ต่อจากนั้นอีก 6 เดือน คือ วันที่ 21 กันยายน 2537 ประเทศพัฒนาแล้วเริ่มเสนอรายงานแห่งชาติ (National Communications) เกี่ยวกับกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ขณะเดียวกัน คณะกรรมการเจรจาระหว่างรัฐบาลฯ (INC) ได้มีการประชุมกันหลายครั้งเพื่อพิจารณาเรื่องการอนุวัติตามอนุสัญญาฯ การจัดการเกี่ยวกับการเงิน การสนับสนุนเงินทุนและเทคโนโลยีแก่ประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งแนวทางการดำเนินงานและสถาบันที่เกี่ยวข้อง ต่อมาคณะกรรมการชุดนี้ค่อย ๆ ลดบทบาทลง และยุบไป (การประชุมครั้งสุดท้าย เดือนกุมภาพันธ์ 2538) และได้ให้ที่ประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาฯ ( The Conference of the Parties หรือ COP) เป็นองค์กรสูงสุดของอนุสัญญาฯ โดย COP มีหน้าที่ติดตามตรวจสอบการอนุวัติตามอนุสัญญาฯ และประเด็นทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งการตัดสินใจสนับสนุนและส่งเสริมการอนุวัติตามอนุสัญญาฯ อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่ง COP มีการประชุมทุกปี จำนวน 9 ครั้ง จนถึง พ.ศ. 2546 ดังนี้
COP-1
เป็นการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาฯ ครั้งแรก จัดขึ้นที่ เบอร์ลิน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ระหว่างวันที่ 28 มีนาคม - 7 เมษายน พ.ศ. 2538
COP-2
จัดขึ้นที่ เจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 8 - 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2539
COP-3
จัดขึ้นที่ เกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 1 - 10 ธันวาคม พ.ศ. 2540
COP-4
จัดขึ้นที่ บัวโนส ไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา ระหว่างวันที่ 2 - 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541
COP-5
จัดขึ้นที่ กรุงบอนน์ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ระหว่างวันที่ 25 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
COP-6
จัดขึ้น กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 13 - 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
COP-7
จัดขึ้นที่ มาราเก็ช ประเทศโมรอคโค ระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม - 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544
COP-8
จัดขึ้นที่ นิวเดลฮี ประเทศอินเดีย ระหว่างวันที่ 23 ตุลาคม - 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545
COP-9
จัดขึ้นที่ มิลาน ประเทศอิตาลี ระหว่างวันที่ 1 - 12 ธันวาคม พ.ศ. 2546
ที่มา http://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=86
1 เมื่อมีลมพัดมาประทะกับแผ่นโลหะ ปลายข้างหนึ่งของแผ่นโลหะจะกระดกขึ้นมุมที่แผ่นโลหะทำแนวตั้งนี้จะขึ้นอยู่ กับความแรงของลม เครื่องมือนี้คือข้อใด



ก. อะมิโนมิเตอร์ ( Anemometer ) ข. บารอมิเตอร์
ค. เทอร์มอมิเตอร์ ง. ไฮโกรมิเตอร์
2. ข้อใด ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นลูกศรยาว มีแพนหางตั้งตรง เป็นตัวบังคับให้ปลายศรลมชี้ไปในทิศทางที่ลมพัดเข้ามา โดยที่แกนของศรลมหมุนไปโดยรอบ


ก. อะมิโนมิเตอร์ ( Anemometer ) ข. ศรลม ( Wind vane )
ค. เทอร์มอมิเตอร์ ง. ไฮโกรมิเตอร์

3.ข้อใด เกิดจากความแตกต่างของความกดอากาศ โดยจะพัดจากบริเวณที่มีความกดอากาศสูงเข้าสู่บริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ ภาพนี้คือ
ก. ภาพแสดงการเกิดลม ข. ภาพแสดงการลมบกลมทะเล
ค. ภาพแสดงการวัดความชื้น ง.ภาพแสดงการวัดความกดดัน
4. ลมข้อใด เกิดขึ้นในตอนกลางวัน เนื่องจากอุณหภูมิของพื้นน้ำที่ได้รับจากดวงอาทิตย์สูงขึ้นช้ากว่าพื้นดิน ทำให้อากาศที่อยู่ใกล้พื้นดินมีอุณหภูมิสูงกว่าอากาศที่อยู่ใกล้พื้นน้ำ
ก. ลมทะเล ( Sea breeze ) ข.ลมบก ( Land breeze )
ค. ลมหุบเขา ง.ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
5. จากรูปนี้หมายถึงนักอุตุนิยมวิทยา นิยมใช้ข้อมูลเกี่ยวกับความกดอากาศ ณ ตำแหน่งต่างๆ ที่ระดับน้ำทะเลซึ่งตรวจวัดได้จากสถานีตรวจอากาศต่างๆ บันทึกลงในข้อใดที่แสดงทิศทางการเคลื่อนที่ของลมที่พัดผ่านส่วนต่างๆ ของโลก

ก.เส้นไอโซบาร์ ( Isobar ) ข.ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
ค. แผนที่อากาศ (Weather map) ง.ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้


ไหว้เจ้า เสริมดวงชะตา รับ ตรุษจีน2553 นี้

ไหว้เจ้า เสริมดวงชะตา รับ ตรุษจีน2553 นี้

ตรุษจีน ปี2553 ทุกราศีควรไปไหว้ เทพเจ้าเสริมดวงชะตา ดังนี้
ปีชวด(หนู)
ให้ไปไหว้ขอพร “องค์ซำกวง” หรือ “เทพ 3 ตา” วัดทิพย์วารี หลังจราจรกลาง ถ.ตรีเพชร กรุงเทพ

ปีฉลู(วัว)
ให้ไปไหว้ขอพร “เทพหั่วท้อ” หรือ “หมออูโต๋ว” (หมดเทวดา) ที่วัดทิพย์วารี หลังจราจรกลาง ถ.ตรีเพชร กทม.

ปีขาล(เสือ)
ให้ไปไหว้ขอพร “ไท้ส่วยเอี๊ย” ที่ศาลเจ้าเล่งเน่ยยี่ มังกรกมลาวาส(ทำแก้ชง)

ปีเถาะ(กระต่าย)
ให้ไปไหว้ขอพร “เทพเจ้าไท้เอี๊ยง” ที่ศาลเจ้าเล่งเน่ยยี่
มังกรกมลาวาส หรือ วัดทิพย์วารี หลังจราจรกลาง ถ.ตรีเพชร กทม.

ปีมะโรง(งูใหญ่) ให้ไปไหว้ขอพร “เทพเทียงเต็ก” ไหว้ฟ้าดิน หรือไหว้ที่เสาทีกง
ได้ทุกศาลเจ้า

ปีมะเส็ง(งูเล็ก)
ให้ไปไหว้ขอพร “ไท้ส่วยเอี๊ย” ที่ศาลเจ้าเล่งเน่ยยี่ มังกร
กมลาวาส(ทำแก้ชง)
“องค์ไท้อิม” ที่วัดทิพย์วารี หลังจราจรกลาง ถ.ตรีเพชร กทม.

ปีมะเมีย(ม้า)

ให้ไปไหว้ขอพร “องค์เจี้ยงแซ” ไหว้ “เทพเจ้ากวนอู” ที่ ศาลเจ้า
กวนตี่ เยาวราช
หรือที่ไหนก็ได้ที่มี

ปีมะแม(แพะ) ให้ไปไหว้ขอพร “เทพห่วยเต็ก” ไหว้ “เจ้าแม่กวนอิม” ที่ มูลนิธิ
เทียนฟ้า เยาวราช หรือทุกศาลเจ้าที่มี

ปีวอก(ลิง) ให้ไปไหว้ขอพร “ไท้ส่วยเอี๊ย” ที่ศาลเจ้าเล่งเน่ยยี่ มังกรกมลาวาส(
ทำแก้ชง)

ปีระกา(ไก่) ให้ไปไหว้ขอพร “เทพเหล่งเต็ก” ไหว้ “องค์แป๊ะกง” ได้ทุกศาลเจ้าที่
มีแป๊ะกง

ปีจอ(หมา) ให้ไปไหว้ขอพร “องค์ตั่วเหล่าเอี๊ย” ได้ทุกศาลเจ้าที่มีเจ้าพ่อเสือ

ปีกุน(หมู) ให้ไปไหว้ขอพร “ไท้ส่วยเอี๊ย” ที่ศาลเจ้าเล่งเน่ยยี่ มังกรกมลาวาส
(ทำแก้ชง)
"องค์กวนอู” ไหว้ “เทพเจ้ากวนอู” ที่ ศาลเจ้ากวนตี่ เยาวราช หรือ ที่ไหนก็ได้
ที่มี

ถ้า ไม่สามารถไปไหว้เทพเจ้าเสริมดวงชะตาตามที่แนะนำตามศาลเจ้าที่บอก
ได้ให้ดูตาม ศาลเจ้าหรือวัดใกล้บ้านที่มีเทพเจ้าเสริมดวงชะตาตามปีเกิดของคุณ
แล้วขอพรจากองค์เทพนั้นโดยตรง โดยอธิฐานดังนี้

ข้าพเจ้า ขอกราบบูชาและต้อนรับ”.....(ชื่อเทพเจ้าที่เสริมดวงชะตา
ปี2553 ประจำปีเกิดของคุณ)” ซึ่งมาสถิตในเรือนชะตาของ ข้าพเจ้า (ชื่อ-นามสกุล)
ด้วยความศรัทธายิ่งขอได้โปรดประทานพรให้ข้าพเจ้า ปราศจากอุปสรรค แคล้วคลาดจาก
ภัยอันตรายทั้งหลายทั้งปวง พร้อมทั้งประทานความสำเร็จ ความสุขความเจริญ มีสิริ
มงคล สุขภาพแข็งแรง และโชคดีตลอดปี2553 แก่ข้าพเจ้า เทอญ...สาธุ

ตรุษ จีน หรือ เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ หรือ ขึ้นปีเพาะปลูกใหม่ และยังรู้จักกันในนาม วันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติ เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามประเพณีของชาวจีนในจีนแผ่นดินใหญ่และชาวจีนโพ้นทะเล ทั่วโลก เทศกาลนี้เริ่มต้นในวันที่ 1 เดือน 1 ของปีตามจันทรคติ และสิ้นสุดในวันที่ 15 ซึ่งจะเป็นเทศกาลประดับโคมไฟ
ในวันตรุษจีนจะมีการ เฉลิมฉลองทั่วโลกโดยเฉพาะชุมชนเชื้อสายจีนขนาดใหญ่ และตรุษจีนถือเป็นวันหยุดที่สำคัญมากช่วงหนึ่งของชาวจีน และยังแผ่อิทธิพลไปถึงการฉลองปีใหม่ของชนชาติที่อยู่รายรอบ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี เมี่ยน ม้ง มองโกเลีย เวียดนาม ทิเบต เนปาล และภูฐาน สำหรับชาวจีนที่อาศัยอยู่ต่างถิ่นกันก็จะมีประเพณีเฉลิมฉลองต่างกันไป ในประเทศไทย
ชาวไทยเชื้อสายจีนจะถือประเพณีปฏิบัติอยู่ 3 วัน คือวันจ่าย วันไหว้ และวันเที่ยว
วัน จ่าย คือวันก่อนวันสิ้นปี เป็นวันที่ชาวไทยเชื้อสายจีนจะต้องไปซื้ออาหารผลไม้และเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ ก่อนที่ร้านค้าทั้งหลายจะปิดร้านหยุดพักผ่อนยาว ในตอนค่ำจะมีการจุดธูปอัญเชิญเจ้าที่ ให้ลงมาจากสวรรค์เพื่อรับการสักการบูชาของเจ้าบ้าน หลังจากที่ได้ไหว้อัญเชิญขึ้นสวรรค์เมื่อ 4 วันที่แล้ว
วันไหว้ คือวันสิ้นปี จะมีการไหว้ 3 ครั้ง คือ
ตอน เช้ามืดจะไหว้ "ไป่เล่าเอี๊ย" เป็นการไหว้เทพเจ้าต่างๆ เครื่องไหว้คือ เนื้อสัตว์สามอย่าง (ซาแซ) ได้แก่ หมู เป็ด ไก่ หรือเพิ่มตับ ปลา เป็นเนื้อสัตว์ห้าอย่าง (โหงวแซ) เหล้า น้ำชา และกระดาษเงินกระดาษทอง
ตอน สาย จะไหว้ "ไป่แป๋บ้อ" คือการไหว้บรรพบุรุษ พ่อแม่ญาติพี่น้องที่ถึงแก่กรรมไปแล้ว เป็นการแสดงความกตัญญูตาม คติจีน การไหว้ครั้งนี้จะไหว้ไม่เกินเที่ยง เครื่องไหว้จะประกอบด้วย ซาแซ อาหารคาวหวาน (ส่วนมากจะทำตามที่ผู้ที่ล่วงลับเคยชอบ) รวมทั้งการเผากระดาษเงินกระดาษทอง เสื้อผ้ากระดาษเพื่ออุทิศแก่ผู้ล่วงลับ หลังจากนั้น ญาติพี่น้องจะมารวมกันรับประทานอาหารที่ได้เซ่นไหว้ไปเป็นสิริมงคล และถือเป็นเวลาที่ครอบครัวหรือวงศ์ตระกูลจะรวมตัวกันได้มากที่สุด จะแลกเปลี่ยนอั่งเปาหลังจากรับประทานอาหารร่วมกันแล้ว
ตอนบ่าย จะไหว้ "ไป่ฮ่อเฮียตี๋" เป็นการไหว้ผีพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว เครื่องไหว้จะเป็นพวกขนมเข่ง ขนมเทียน เผือกเชื่อมน้ำตาล กระดาษเงินกระดาษทอง พร้อมทั้งมีการจุดประทัดเพื่อไล่สิ่งชั่วร้ายและเพื่อเป็นสิริมงคล
วัน เที่ยว หรือ วันถือ คือวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่หนึ่ง ของเดือนที่หนึ่งของปี วันนี้ชาวจีนจะถือธรรมเนียมโบราณที่ยังปฏิบัติสืบต่อกันมาถึงปัจจุบันคือ "ไป่เจีย" เป็นการไหว้ขอพรและอวยพรจากญาติผู้ใหญ่และผู้ที่เคารพรัก โดยนำส้มสีทองไปมอบให้ เหตุที่ให้ส้มก็เพราะส้มออกเสียงภาษาจีนแต้จิ๋วว่า "กิก" ซึ่งไปพ้องกับคำว่าความสุขหรือโชคลาภ เพราะฉะนั้นการให้ส้มจึงเหมือนนำความสุขหรือโชคลาภไปให้ จะมอบส้มจำนวน 4 ผล ห่อด้วยผ้าเช็ดหน้าของผู้ชาย เหตุที่เรียกวันนี้ว่าวันถือคือ เป็นวันที่ชาวจีนถือว่าเป็นสิริมงคล งดการทำบาป จะมีคติถือบางอย่าง เช่น ไม่พูดจาไม่ดีต่อกัน ไม่ทวงหนี้กัน ไม่จับไม้กวาด และจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าใหม่แล้วออกเยี่ยมอวยพรและพักผ่อนนอกบ้าน เป็นต้น
สัญลักษณ์ อีกอย่างของเทศกาลนี้ คือ อั่งเปา (ซองแดง) คือ ซองแดงใส่เงินที่ผู้ใหญ่แล้วจะมอบให้ผู้น้อย และมีการแลกเปลี่ยนกันเอง หรือ หรือจะใช้คำว่า แต๊ะเอีย (ผูกเอว) ที่มาคือในสมัยก่อน เหรียญจะมีรูตรงกลาง ผู้ใหญ่จะร้อยด้วยเชือกสีแดงเป็นพวงๆ และนำมามอบให้เด็กๆ เด็กๆ ก็จะนำมาผูกเก็บไว้ที่เอว
ในเทศกาลนี้ ชาวจีนจะกล่าวคำ ห่ออ่วย หรอคำอวยพรภาษาจีนให้กัน หรือมีการติดห่ออ่วยไว้ตามสถานที่ต่างๆ คำที่นิยมใช้กันได้แก่
แต้จิ๋ว: ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้ จีนกลาง: ซินเจิ้งหรูอี้ ซินเหนียนฟาฉาย แปลว่า ขอให้ประสบโชคดี ขอให้มั่งมีปีใหม่
เกียฮ่อซินนี้ ซินนี้ตั้วถั่น แปลว่า สวัสดีปีใหม่ ขอให้ร่ำรวยๆ
อีกฝ่ายก็จะกล่าวตอบว่า ตั่งตังยู่อี่ แปลว่า ขอให้สุขสมหวังเช่นกัน
ที่มา http://images.google.com/imgres?imgurl=http://www.lifepitlok.com/images_news/1263171994.jpg&imgrefurl=http://www.lifepitlok.com/&usg=__v00JW7HbMY26yWHUBo8_vLNbwHc=&h=300&w=450&sz=76&hl=th&start=2&sig2=955APENtaT-PZlKDNGThrw&um=1&itbs=1&tbnid=-7KlA1OqtfS57M:&tbnh=85&tbnw=127&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B8%25E0%25B8%25A9%25E0%25B8%2588%25E0%25B8%25B5%25E0%25B8%2599%2B2553%26hl%3Dth%26rls%3Dcom.microsoft:en-US%26sa%3DN%26um%3D1&ei=0HZ1S4jwNYPBrAeaseW8Cg

ทัศนศึกษาแม่สาย

ทัศนศึกษา < แม่สาย,แพร่,อุตรดิตถ์และพะเยาะ>
















Office 2010 (beta) ดาวน์โหลดได้แล้ว


[เอ. อาร์.ไอ.พี, www.arip.co.th] รายงานข่าวล่าสุด เมื่อวานนี้ไมโครซอฟท์ (Microsoft) ได้ประกาศให้ผู้ใช้ทั่วโลกสามารถดาวน์โหลด Office 2010 เวอร์ชันทดลอง (Office 2010 beta) ไปใช้กันได้แล้ว โดยทางบริษัทคาดว่า น่าจะมีผู้ใช้ที่สนใจดาวน์โหลดไปลองใช้อย่างน้อย 1 ล้านราย

"ในกรณี ที่คุณใช้ Office 2003 อยู่แล้วเกิดอยากลองใช้ Office 2010 คุณอาจจะรู้สึกว่า เหมือนเริ่มหัดใช้ซอฟต์แวร์กันใหม่เลยทีเดียว เนื่องจากส่วนติดต่อผู้ใช้ (User Interface) แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง แต่ถ้าคุ้นเคยกับ Office 2007 อยู่แล้ว คุณจะสามารถใช้ออฟฟิศรุ่นใหม่ได้อย่างรวดเร็ว" Chris Capossela รองประธานอาวุโสแผนกธุรกิจของไมโครซอฟท์ กล่าว

เขายังกล่าวอีกด้วย ว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่เกิดขึ้นในช่วงรอยต่อระหว่าง Office 2003 และ Office 2007 จะไม่ได้มีความแตกต่างของอินเตอร์เฟซมากนัก เมื่อขยับขึ้นมาใช้ Office 2010 แต่ผู้ใช้จะรู้สึกว่า มันใช้งานง่าย และมีหลายสิ่งหลายอย่างที่ลงตัวกว่าเดิมมาก นอกจากนี้ Capossela ยังเชื่ออีกด้วยว่า ผู้ใช้จะต้องรู้สึกตื่นเต้นกับคุณสมบัติใหม่ๆ มากมายทีมาพร้อมกับออฟฟิศ 2010 อย่างเช่น
ฟังก์ชันใหม่สำหรับแก้ไขวิดีโอในสไลด์ของโปรแกรม PowerPoint
ฟังก์ชันร่วมแก้ไขเอกสารใน Word ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สองคนสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงไฟล์เอกสารได้พร้อมกัน
การ จัดการอีเมล์ใน Outlook และความสามารถในการผูกบัญชีผู้ใช้ Outlook เข้าไปในเว็บไซต์เครือข่ายสังคม (Social networks) ที่คุณชื่นชอบ
"นี่ ถือเป็นอีกหนึ่งหลักไมล์ของโปรแกรม Office ที่ใครก็สามารถใช้งาน และสนุกไปกับคุณสมบัติต่างๆ ของซอฟต์แวร์ได้อย่างครบครัน" Capossela กล่าว สำหรับกำหนดการวางตลาดของ Office 2010 จะอยู่ในช่วงประมาณกลางปี 2010 ดาวน์โหลด Office 2010 เวอร์ชันทดลอง

ข้อมูลจาก: Channelweb
ที่มา
http://www.arip.co.th/news.php?id=410352 0 ความคิดเห็น


แรงดันของอากาศหรือ ความดันของอากาศ นั้น ในการพยากรณ์อากาศจะเรียกว่า ความกดอากาศ จะมีอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากอากาศห่อหุ้มโลกอยู่เป็นจำนวนมาก จะมีน้ำหนักกดลงบนผิวโลก บนตัวเรา หรือ บนวัตถุต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา
ความกดดันของอากาศ มีค่าประมาณ 15 ปอนด์ ต่อ พื้นที่ 1 ตารางนิ้วที่ระดับน้ำทะเล ซึ่งเรียกความกดดันนี้ว่า "ความกดดัน 1 บรรยากาศ" ซึ่งเท่ากับ 760 มิลลิเมตรของปรอท
ในการวัดความดันอากาศ เรามักวัดเป็นส่วนสูงของน้ำ หรือส่วนสูงของปรอท ทอริเซลลิ (Toricelli) นักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาเลียน เป็นคนแรกที่คิดหาความดันของอากาศโดยใช้ ปรอทศึกษาความดันบรรยากาศแล้วนำไปสร้างเครื่องมือวัดความดันบรรยากาศเรียก ว่า "บารอมิเตอร์" (baromiter)
บารอมิเตอร์ คือเครื่องมือที่ใช้วัดความดันอากาศ ที่นิยมใช้ ได้แก่
1.บารอมิเตอร์แบบปรอท สร้างขึ้นดดยใช้หลักการที่อากาศสามารถดันของเหลวให้เข้าไปในหลอดแก้ว เครื่องมือนี้ ประกอบด้วย หลอยแก้ว ปลายปิดด้านหนึ่งและไล่อากาศออก แล้วคว่ำหลอดแก้วลงในภาชนะที่บรรจุปรอท อากาศภายนอกจะดันปรอทเข้าสู่หลอดแก้ว ที่ระดับน้ำทะเล ลำปรอทในหลอดแก้วจะสูง 760 มิลลิเมตร (ถ้าใช้น้ำ แทนปรอท อากาศจะดันน้ำขึ้นสูง 10 เมตร เพราะน้ำเบากว่า 13.6 เท่า) ความดัน 1 บรรยากาศ คือความดันที่ทำให้ลำปรอทขึ้นสูง 76 เซนติเมตร หรือ 760 มิลลิเมตร
2.แอนิรอยด์บารอมิเตอร์ เป็นตลับโลหะ อาจเป็นอลูมิเนียมรูปร่างกลมแบน ผิวเป็นคลื่น ก้นตลับติดกับกรอบโลหะที่แข็งแรง ภายในตลับสูบอากาศออกเกือบหมด ฝาตลับจึงบุบขึ้นลงตามความดันของอากาศภายนอก ตอนบนฝาตลับมีสปริงที่ต่อไปที่คานและเข็มซึ่งชี้บนหน้าปัดที่มีตัวเลขแสดง ความดันของอากาศ
3.บารอกราฟ เป็นเครื่องวัดความดันอากาศแบบแอนิรอยด์บารอมิเตอร์ แต่บันทุกความดันอากาศแบบต่อเนื่องกัน โดยแกนที่ขึ้นลงตามการบุบตัวของตลับโลหะ จะดันเข็มชี้ให้ปลายเข็ม เลื่อนขึ้นลงบนกระดาษกราฟ ซึ่งหมุนตลอดเวลา เราจึงสามารถอ่านค่าความกดอากาศในช่วงเวลาที่ผ่านมาได้ บารอมิเตอร์แบบนี้ใช้ในการพยากรณ์อากาศ

*ถ้าต้มน้ำในที่สูง จุดเดือดจะลดลงแต่ถ้าต้มในระดับน้ำทะเลจะมีจุดเดือด 100 องศา

แอลติมิเตอร์ (พัฒนา มาจากแอนิรอยด์บารอมิเตอร์) เป็นเครื่องวัดระดับความสูง ใช้หลักการแบบแอนิรอยด์ แต่ปรับหน้าปัดให้อ่านระดับความสูงได้ด้วย ใช้สำหรับบอกความสูงของเครื่องบินและติดตัวนักโดดร่ม เพื่อบอกความสูง

ถ้า เรามีความประสงค์จะบันทึกการเปลี่ยนแปลงความกดของอากาศตลอดชั่วโมง ตลอดวัน หรือตลอดเดือน ก็สามารถทำได้ โดยใช้แขนปากกาต่อกับกล่องโลหะ ซึ่งถูกดูดอากาศออกเป็นบางส่วน แล้วใช้แผ่นบักทึก ความกดม้วนรอบกระบอก ซึ่งหมุนด้วยลานนาฬิกา เครื่องบันทึกความกดอากาศนี้เรียกว่า "บารอกราฟ" (barograph)
ที่มาhttp://nuaom086.blogspot.com/2009_12_01_archive.html
http://guru.sanook.com/encyclopedia/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8/
0 ความคิดเห็น